ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ( MOPH ED Triage ) งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน , การนิเทศทางคลินิกบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้แนวทางคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน หรือ MOPH ED Triage งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน ก่อนและหลังการนิเทศทางคลินิก ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 2 ปีขึ้นไปจำนวน 10 คน ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในระหว่างปีพ.ศ. 2565 จำนวน 600 คน โดยสุ่มเก็บข้อมูลตัวอย่างเดือนละ 50 คน และผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในระหว่าง วันที่ 9 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 จำนวน 338 คนโดยใช้สูตรของ Infinite population proportion ของ App N4Studies เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย
การนิเทศทางคลินิก และแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้ สัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.934 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดกรองโดยใช้สถิติ Chi-square test
ผลการศึกษาพบว่า การใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ผลการคัดกรองมีความถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยยะสำคัญ โดยคัดแยกถูกต้องจากร้อยละ96.00 เป็น 97.04, (c2=0.671,df=1,p =0.265)เนื่องจากมีปัจจัยรบกวน เช่นการคาดคะเนการใช้ทรัพยากรผิดพลาด การเข้าถึงล่าช้า ปัญหาการสื่อสารกับผู้มารับบริการ พยาบาลวิชาชีพมีระดับความพึงพอใจ ในการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน ร่วมกับการนิเทศทางคลินิก อยู่ในระดับสูง ( =4.59) จึงควรมีการนิเทศทางคลินิกอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาคุณภาพ การใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ. ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนด (ฉบับที่1). กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2556
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี : สำนักวิชาการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2561.
งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน.แม่ฮ่องสอน : โรงพยาบาลศรีสังวาลย์; 2565
ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลวชิรบารมี.วิธีปฏิบัติเรื่องระบบการนิเทศการพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. พิจิตร : โรงพยาบาลวชิรบารมี ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2566]. เข้าถึงได้จากhttp://wachira.ppho.go.th/web_wachira/knowledge_file/20171219114641_16.pdf
กัลยารัตน์ หล้าธรรม, ชัจคเณค์ แพรขาว. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560; 10 มีนาคม 2560; ณ อาคารพจน์สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2560. หน้า 1035-46.
ดร.สมหมาย คชนาม. เอกสารประกอบการอบรมเรื่องเครื่องมือการวิจัยและสถิติ.แม่ฮ่องสอน: โรงพยาบาลศรีสังวาลย์; 2566.
มยุรี มานะงาน. ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.