พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการในโรงพยาบาลสวนปรุง

ผู้แต่ง

  • ณัฐภัทร ม่วงงาม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรางคณา นาคเสน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ภาวะโภชนาการ, โรคติดสุรา

บทคัดย่อ

ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่พบได้ในผู้ป่วยโรคติดสุรา ซึ่งผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการส่งผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยของผู้ป่วยหลายประการ เช่น ร่างกายอ่อนล้าง่าย มีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย เพิ่มระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาลนานขึ้น เป็นต้น โดยระดับภาวะทุพโภชนาการที่รุนแรงมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross Sectional Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ภาวะโภชนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง จำนวน 225 คน ในระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ.2566 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และแบบประเมินภาวะโภชนาการ Nutrition Alert Form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ T-test , Analysis of Variance (ANOVA) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุงทั้งหมดมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารระดับเหมาะสมปานกลาง ร้อยละ 86.7 ของผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุง ไม่มีหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการน้อย ขณะที่ร้อยละ 13.3 มีภาวะทุพโภชนาการปานกลาง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการ (ความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ) ในผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลสวนปรุงพบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.745, p<.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคติดสุราในรายที่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ดีหรือเหมาะสม มีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดภาวะทุพโภชนาการ ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคติดสุราโดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสมขึ้น

References

ควรมีการศึกษาผลของการพัฒนาเมนูเพิ่มสารอาหารและพลังงานแก่ผู้ติดสุราที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ในโรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่

ควรมีการศึกษาผลของพฤติกรรมการบริโภคอาหารเมนูเพิ่มสารอาหารและพลังงานในผู้ติดสุราที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

กรมสุขภาพจิต. รายงานการศึกษาเรื่องความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต; 2559.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย ประจำปี พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. โทษพิษภัยของสุรา และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและผู้ใกล้ชิด. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์. สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2566.

Vichitkunakorn P, Assanangkornchai S. Trends in inequalities of alcohol-related harms among Thai households: 2007-2017. Drug and alcohol dependence 2019;204:107577.

Ormond G, Murphy R. An investigation into the effect of alcohol consumption on health status and health care utilization in Ireland. Alcohol 2017;59:53-67.

วจนะ เขมะวิชานุรัตน์. ภาวะทุพโภชนาการ และภาวะถอนพิษสุราของผู้ป่วยติดสุราในโรงพยาบาลสวนปรุง. จิตเวชวิทยาสาร 2562;3:209-220.

โรงพยาบาลสวนปรุง. รายงานประจำปี 2564 โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2564.

Nanjundeswaraswamy TS, Divakar S. Determination of sample size and sampling methods in applied research. Proceedings on engineering sciences 2021;3:25-32.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2561;45:68-78.

Komindrg S, Tangsermwong T, Janepanish P. Simplified malnutrition tool for Thai patients. Asia Pacific Journal Clinical Nutrition 2013;22:516-521.

Luecha, T., Peremans, L., Dilles, T., Poontawee, P., & Van Rompaey, B. The prevalence of and factors related to alcohol consumption among young people in Thailand: a systematic review of observational studies. Drugs: Education, Prevention and Policy 2020;27:337-358.

สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. โภชนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/17/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย