ประสิทธิผลของรูปแบบการดำเนินงานร้านเครื่องดื่มอ่อนหวาน ในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ลลนา ถาคำฟู -
  • สิริลักษณ์ สิทธิเครือ
  • ปิยะนารถ จาติเกตุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความรู้เรื่องการบริโภคหวาน และการปฏิบัติของผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกเครื่องดื่มที่มีความหวานเหมาะสม (2) เปรียบเทียบสัดส่วนข้อมูลการบริโภคเครื่องดื่มของผู้บริโภค ก่อนและหลังการดำเนินการโดยแยกระดับความหวาน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่ม จำนวน 164 ร้าน รูปแบบการดำเนินงานประกอบด้วยการให้ความรู้ผู้ประกอบการ, สนับสนุนสื่อความรู้, ติดตามกระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกเครื่องดื่มที่มีระดับความหวานเหมาะสม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบประเมินความรู้ของผู้ประกอบการ แบบสอบถามการปฏิบัติในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกเครื่องดื่มที่มีระดับความหวานเหมาะสม และแบบบันทึกข้อมูลการบริโภคเครื่องดื่มก่อนและหลังดำเนินการ รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน Paired Sample T-test

ผลการวิจัย พบว่า หลังดำเนินการ 3 เดือน 1) ผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มมีความรู้เรื่องการบริโภคหวานเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) ผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มมีการปฏิบัติในการส่งเสริมให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกเครื่องดื่มที่มีระดับความหวานเหมาะสม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 3) ผู้บริโภคสั่งเครื่องดื่ม ระดับหวานน้อยและไม่หวาน เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 36.7 เป็นร้อยละ 69.3

รูปแบบการดำเนินงานร้านเครื่องดื่มอ่อนหวาน ในจังหวัดลำปาง ทำให้เกิดความร่วมมือของผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่ม ได้แก่ จัดวางสื่อความรู้ที่ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ให้คำแนะนำส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีระดับความหวานเหมาะสม รวมทั้งปรับลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มของร้านให้เป็นเมนูที่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคสั่งเครื่องดื่มที่มีระดับความหวานเหมาะสมเพิ่มขึ้น

References

World Health Organization. NONCOMMUNIABLE DISEASES COUNTRY PROFILES 2018. Geneva; 2018.

ช่อนภา สิทธิ์, สโรชา อยู่ยงสินธุ์, ไชยวัฒน์ นามบุญลือ. พฤติกรรมเนือยนิ่งและปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย.2565; 1(2):AA1–10.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. การจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย และความท้าทายของหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 2564;4(2):4–7.

Schroders & Rathbone Greenbank. Sugar, Obesity and noncommunicable disease: Investor expectations. 2017.

Lafontan M. Role of sugar intake in beverages on overweight and health. Nutr Today. 2010; 45(6):S13-17. doi: 10.1097/NT.0B013E3181FE419E.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. หวานน้อยก็อร่อยได้.[อินเทอร์เน็ต]. 2558[เข้าถึงเมื่อ 22 พ.ย. 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://www.dent.chula.ac.th/ upload/web_km/file_pdf_62_1918.pdf

สุภัทร์ ไชยกุล. น้ำตาล: ความเสี่ยง นโยบายและการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ. วารสารโภชนาการ [อินเทอร์เน็ต].2563;55(1):97–110.

World Health Organization. Guideline: sugar intake for adult and children [Internet]. World Health Organization; 2015 [cited 2022 Nov 28]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789 241549028

World Health Organization. WHO calls on countries to reduce sugars intake among adults and children [Internet]. 2015 [cited 2022 Nov 28]. Availablefrom: https://www.who.int/news/item/04-03-2015-who-calls-on-countries-to-reduce-sugars-intake-among-adults-and-children

Brand Buffet. สสส. เปิด Insight พฤติกรรมการกินคนไทย ชี้ คนทำงาน “ติดหวาน” มากขึ้น 14% เพิ่มความหวานในเครื่องดื่มสูงขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2022/09/thai-health-insight-workers-like-more-sweet/

Sánchez-Pimienta TG, Batis C, Lutter CK, Rivera JA. Sugar-Sweetened Beverages Are the Main Sources of Added Sugar Intake in the Mexican Population. J Nutr. 2016 Sep 1;146(9):1888S-96S.

Ricciuto L, Fulgoni VL, Gaine PC, Scott MO, DiFrancesco L. Sources of Added Sugars Intake Among the U.S. Population: Analysis by Selected Sociodemographic Factors Using the National Health and Nutrition Examination Survey 2011–18. Front Nutr. 2021;8:1-13. doi: 10.3389/FNUT.2021.687643/PDF

American Heart Association. Added Sugars [online]. 2 Nov 2021 [cited 2023 Aug 21]. Available from: https://www.heart.org/en/healthy-living/healthy-eating/eat-smart/sugar/added-sugars

พิมพ์นภาณัท ศรีดอนไผ่, ปิยณัฐ ศรีดอนไผ่, ประภาศรี ภูวเสถียร, ยุพาพร นาคงามอนงค์, ประไพศรี ศิริจักรวาล. ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มรสหวานที่จำหน่ายในมหาวิทยาลัยและบริเวณโดยรอบ กรณีศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2562; 49(1): 32–43.

Brand Buffet. เจาะเบื้องหลังวิธีคิด! แคมเปญรณรงค์ใหม่ “ลดหวาน ลดโรค” จากสสส. จับ Insight มาสร้างหนังโฆษณา พร้อมเกณฑ์ระดับความหวานใหม่ ชวนคนไทยสั่งหวานน้อย ไม่เกิน 2 ช้อนชา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.brandbuffet.in.th/2022/10/thaihealth-reduce-sugar-reduce-disease-campaign/

The ASEAN Post. Southeast Asia’s bubble tea craze [online]. 27 Dec 2019 [cited 2023 Aug 22]. Available from: https://theaseanpost.com/article/southeast-asias-bubble-tea-craze

Krieger J, Bleich SN, Scarmo S, Ng SW. Sugar-Sweetened Beverage Reduction Policies: Progress and Promise. Annu Rev Public Health. 2021; 42(1):439–61. doi: 10.1146/ANNUREV-PUBLHEALTH-090419-103005

Hagenaars LL, Jeurissen PPT, Klazinga NS, Listl S, Jevdjevic M. Effectiveness and Policy Determinants of Sugar-Sweetened Beverage Taxes. J Dent Res. 2021;100(13)1444-51.doi:10.1177/00220345211014 463.

Momin SR, Duna M, Wood AC. The association between sugar-sweetened beverages and child obesity: Implications for us policy. Safety Issues in Beverage Production: Volume 18: The Science of Beverages. 2019;451–83. Doi: 10.1016/B978-0-12-816679-6.00014-0

Thow AM, Hawkes C. Global sugar guidelines: an opportunity to strengthen nutrition policy. Public Health Nutr. 2014;17(10): 2151–5. doi: 10.1017/S1368980014001840

Popkin BM, Hawkes C. Sweetening of the global diet, particularly beverages: Patterns, trends, and policy responses. Lancet Diabetes Endocrinol. 2016 Feb 1;4(2):174–86. Doi: 10.1016/S2213-8587(15)00419-2

ข่าวไทยพีบีเอส. 10 ปีเครือข่ายไม่กินหวาน ผู้ปิดทองหลังพระ “ภาษีความหวาน”. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก :https://www.thaipbs.or.th/news/content/266278

Tanasugarn C. Knowledge and Health Literacy. THJPH. 2021;51(1):1–6.

Centers for Disease Control and Prevention. What Is Health Literacy?. [Internet].11 Jul 2023.[cited 2023 Aug 14]. Availablefrom: https://www.cdc.gov/healthliteracy/learn/i ndex.html

Nutbeam D, Levin-Zamir D, Rowlands G. Health Literacy in Context. IJERPH. 2018; 15: 2657. Doi: 10.1093/HEAPRO/15.3.259

Taylor MK, Sullivan DK, Ellerbeck EF, Gajewski BJ, Gibbs HD. Nutrition literacy predicts adherence to healthy/unhealthy diet patterns in adults with a nutrition-related chronic condition. Public Health Nutr. 2019; 22(12):2157-69.doi: 10.1017/S1368980019001289

สำนักอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือรณรงค์ให้ความรู้เรื่องสัญลักษณ์โภชนาการ"ทางเลือกสุขภาพ"สำหรับบุคคลทั่วไป. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน. การถอดบทเรียนและคู่มือแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน ปี 2564-2565. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2565.

Thaler RH, Sustein CR. สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม(ฉบับปรับปรุง). วัชชีรา ตันวิบูลย์วงศ์, ธนวรรณ นิลจินดา, กัลย์ธีรา อนันต์วัฒนานุกูบ, สิรีธร สิมะวัฒนา, บรรณาธิการ. นรา สุภัคโรจน์, ผู้แปล กรุงเทพฯ; 2561.

เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน. รูปแบบการใช้สื่อรณรงค์ลดการบริโภคน้ำตาลในเครื่องดื่มในร้านกาแฟแบลคแคนยอน.นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2559.

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข. การดำเนินงานร้านเครื่องดื่มอ่อนหวาน (สั่งหวานน้อยที่ร้านนี้..ดีต่อใจ). ลำปาง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง 2564.

วิมล โรมา, ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, มุกดา สำนวนกลาง, แรกขวัญ สระวาสี, สายชล คล้อยเอี่ยม, กมลวรรณ สุขประเสริฐ, บรรณาธิการ. แนวคิดหลักการขององค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชน (สขรส.); 2561.

วราภรณ์ สามโกเศศ. แนวคิด Nudge ดัดพฤติกรรมมนุษย์ [อินเทอร์เน็ต]. 20 ต.ค. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.the101.world/ nudge-richard-thaler/

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย. SDG Updates: เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน [อินเทอร์เน็ต]. 17 ธ.ค. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://globalcompact-th.com/news/detail/635

Good Factory. Nudge Lab สะกิดให้กินหวานน้อยด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://goodfactory.co/nudge-lab/

Blog Good Factory. Nudge Lab -“สะกิด”ให้คิด (หวานน้อย) จากไอเดียสู่การทดลองทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://blog.goodfactory.co/nudge-lab-สะกิด-ให้คิด-หวาน-น้อย-จากไอเดียสู่การทดลองทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม-90b565b0c8fd.

Cadario R, Chandon P. Which healthy eating nudges work best? A meta-analysis of field experiments. Mark Sci. 2020;39(3):465–86. doi: 10.1287/MKSC.2018.1128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/16/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย