ปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองหมื่นชัย ตำบลไทยชนะศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาล. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินบทคัดย่อ
โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชากรไทย เนื่องจากส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ และปัจจุบันยังพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไปและการขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analysis Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 100 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ (Level of Significant) เท่ากับ 0.05 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบ Pearson (Pearson Product Moment Correlation) และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple regression)
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการยอมรับ (r=0.175, p-value=0.04) แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการมีส่วนร่วม(r=0.483, p-value<0.001) แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการเงิน สิ่งของ (r=0.291, p-value=0.002) แรงสนับสนุนทางสังคมด้านข้อมูลข่าวสาร (r=0.229, p-value<0.01) การรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติ (r=0.465, p-value<0.001) และการรับรู้ความคาดหวังผลลัพธ์ของการปฏิบัติ (r=0.604, p-value<0.001) และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการยอมรับ แรงสนับสนุนทางสังคมด้านการมีส่วนร่วม การรับรู้ความสามารถของตนในการปฏิบัติ การรับรู้ความคาดหวังผลลัพธ์ของการปฏิบัติ และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการเงิน สิ่งของ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินได้ร้อยละ 66.0 (R2=0.660, Adj. R2=0.660, F=25.84, Sig.<0.001)
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำ ปี 2559. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข; 2559.
กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCD พ.ศ.2562 เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [อินเตอร์เน็ต]. ต.ค.2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ.2566]; เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd. com/2016/mediadetail.php?id =13865&tid=1-015-005%22
สุพัตรา ศรีวณิชชากร และคณะ. คู่มือหน่วยบริการปฐมภูมิการจัดการเบาหวานแบบบูรณาการ. นนทบุรี: 2552.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. รายงานประจำปีงบประมาณ 2563. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุโขทัย; 2563.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเสลี่ยม. รายงานประจำปีงบประมาณ 2563. สุโขทัย: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเสลี่ยม; 2563.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
ลักษณา พงษ์ภุมมา และคณะ. ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ ปีที่ 20 ฉบับที่ 40 มกราคม - มิถุนายน 2560. 2560.
ธรรญญพร วิชัย และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในบ้านคำนางรวย ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 2 วันที่ 26 - 27 กรกฎาคม 2560.
วรรณรา ชื่นวัฒนา และคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2557.
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (ก.ย. - ธ.ค.) 2557.
ณาเดีย หะยีปะจิ และ พิสิษฐ์ พวยฟุ้ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการตรวจติดตาม ระดับน้ำตาลที่ กองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา ปีที่20 ฉบับที่3 กันยายน –ธันวาคม 2562.
อรทัย วุฒิเสลา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดมุกดาหาร.วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2553.
เทอดคุณ พันธการ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2552
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.