การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • มลิวัลย์ ประสาทไชยพร โรงพยาบาลแหลมสิงห์
  • จินตนา ใจมั่น โรงพยาบาลแหลมสิงห์
  • ชัชชญา สร้อยเพชร โรงพยาบาลแหลมสิงห์
  • นิตยา ทองมา วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

ปัญหาอนามัยแม่และเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญโดยเฉพาะการเสียชีวิตของมารดาและทารกที่ยังไม่ลดลงสาเหตุเกิดจากหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ารวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ใช้แนวคิดของสติงเกอร์ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และเปรียบเทียบคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็น หญิงไทยตั้งครรภ์ อายุครรภ์ ไม่เกิน 28 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จำนวน 30 คน
เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ขั้นตอนในการวิจัยประกอบไปด้วย 3 ระยะได้แก่ 1) การพินิจพิเคราะห์สภาพปัญหา
2) การออกแบบรูปแบบ 3) การทดสอบรูปแบบในการนำรูปแบบไปใช้และการประเมินผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้เป็น แนวคำถามสนทนากลุ่ม ประเด็นการประชุมทีมวิจัย กิจกรรมของรูปแบบ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม แบบสอบถามความรู้และพฤติกรรมที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และ Wilcoxon Signed Rank test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ
การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ รูปแบบ P3M ซึ่งประกอบไปด้วย 1) P(Process) คือกระบวนการใน
การเตรียมการในการดำเนินงาน 2) M(Method) คือวิธีการในการสร้างรูปแบบและกิจกรรมในรูปแบบ 3) M(Material) คือวัสดุอุปกรณ์ และ M(Man) คือคนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบ เมื่อนำกิจกรรมในรูปแบบไปใช้พบว่า คะแนนความรู้ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองรวม พฤติกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านโภชนาการ ด้านกิจกรรมทางกาย ด้านการจัดการกับความเครียด ด้านการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ของหญิงตั้งครรภ์หลังการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value < 0.001 ผลที่ได้จากการวิจัยควรนำรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ รูปแบบ P3M ไปใช้ในการดำเนินงานในหน่วยงานและและพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึง

References

อัญญา ปลดเปลื้อง, อมราวดี บุญอรัตน์, สุพรรณ กัณหดิลก, เพ็ญพักตร์ ลูกอินทร์, ณัฐพร อุทัยธรรม, พรพรรณ พรมประยูร, และคณะ. การวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยที่ส่งผลคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27 (3):43-51.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560- 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Pender. Health Promotion in Nursing Practice. (5th ed.). New Jersey. Pearson Education; 2006.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, ณัฐธิดา สอนนาค. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(2):95-109.

ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, พิริยา ศุภศรี, นารีรัตน์ บุญเนตร, ชรริน ขวัญเนตร. แบบจำลองเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(1):28-46.

นภาภรณ์ เกตุทอง, นิลุบล รุจิรประเสริฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561; 33(2):129-35.

ET Stringer. Action Research. (4th ed.). California. SAGE; 2014.

Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.

ธนวัฒน์ รุ่งศิริวัฒนกิจ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจังหวัดเพชรบุรี. วิยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.

แว่นใจ นาคะสุวรรณ, สาวิตรี แย้มศรีบัว, มธุรส จันทร์แสงศรี, วรรณดา มลิวัลย์, กาญจนา อาชีพ, ทิวาพร ฟูเฟื่อง, และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและพฤติกรรมความเครียดของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก.วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษย์ศาสตร์) 2565;16(3):

-54.

ดวงหทัย เกตุทอง. ศึกษาการใช้โปรแกรมเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิก พัฒนารูปแบบและนวัตกรรมบริการสุขภาพสตรี. (อินเตอร์เน็ต). 2562. (เข้าถึงเมื่อ 29 สิงหาคม 2566). เข้าถึงได้จาก: http://mwi.anamai.moph. go.th/th/newsanamai/download/?did=206849&id=80052&reload=

นงเยาว์ สุวานิช, ธณกร ปัญญาใสโสภณ, สาโรจน์ เพชรมณี. ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39(4):45-54.

รุจา แก้วเมืองฝาง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์. วารสารแพทย์เขต 4-5 2565;41(2): 209-19.

กรุณา ประมูลสินทรัพย์, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, เอกชัย โควาวิสารัช. ผลของ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเองต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองและพฤติกรรมความเครียดของสตรีวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ2556;31(4):54-60

สุภาวดี เงินยิ่ง, พิริยา ศุภศรี, วรรทนา ศุภสีมานนท์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรม สุขภาพด้านโภชนาการและการจัดการความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2556;21(4):37-48.

เกษร แก้วผุดผ่อง. ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561;32(1):907-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/20/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย