ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เครือข่ายบริการปฐมภูมิ อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • เชาวลิต สันวงศ์ตา ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ กรมอนามัย
  • วิชิตพงษ์ วงศ์เรือน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
  • ศิริรัตน์ ผ่านภพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง, โปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกที่เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียชีวิตผู้ป่วยส่วนใหญ่บางรายเกิดความพิการในสภาพอัมพฤกษ์หรืออัมพาต กลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจด้านการสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลในครอบครัวตามมา ทำให้สิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาล เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 คนได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Network Primary Care Unit ; NPCU) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ตามแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ประกอบด้วย กิจกรรมสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ระดับความดันโลหิต และพฤติกรรมในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้เวลาศึกษา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือน มกราคม 2566 ถึง เดือน มีนาคม 2566 การวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ  Paired t-Test

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -22.264, p<.001) ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตช่วงบนและค่าเฉลี่ยความดันโลหิตช่วงล่างต่ำกว่าก่อนเริ่มใช้โปรแกรมครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.636, p<.001)
(t = 20.679, p<.001)

References

World Stoke Organization. WSO annual report 2013: Administrative Office Geneva; 2017.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อนนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค; 2563

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนได้รับการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด.[อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://lpg.hdc.moph.go.th

ชื่นชม สมพล, ทัศนีย์ รวิวรกุล, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31

(ฉบับพิเศษ): 58-74.

วรกร วิชัยโย, เพ็ญศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวานอำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564;14(2):25-35.

Rogers, R.W. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.), Social Psychophysiology. New York: Guilford Press;1983.

ปานใจ กันยะมี. “ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง”.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2557; 26(2):14-25.

ชลธิรา กาวไธสง. ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลชุมพวง อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา.ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557; 29(3): 295-303.

ศิริรัตน์ ผ่านภพ, นภาเพ็ญ จันทขัมมา และ มุกดา หนุ่ยศรี. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):528-538.

เยาวดี ศรีสถาน. ผลของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการจัดการเฝ้าระวังตนเอง ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง.วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2565; (1);36-45.

พีระ บูรณะกิจเจริญ. โรคความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ :หมอชาวบ้าน; 2557.

Spassova, L.et al.“Randomised controlled trial to evaluate the efficacy and usability of a computerized phone-based lifestyte coaching system for primary and secondary prevention of stroke”. BioMed Central Neurology. 2016;16(6):1-9.

มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. DASH Diet. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 มิ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก:https:// www.thaiheartfound.org/Article/Detail/140133

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: ฮั่วน้ำพริ้นติ้ง: 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย