การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ใส่ด้วง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ, การบันทึกทางการพยาบาล, แผนกสูตินรีเวชกรรม

บทคัดย่อ

บันทึกทางการพยาบาลเป็นเครื่องมือสำคัญซึ่งพยาบาลใช้สื่อสารระหว่างทีมการพยาบาลและ
ทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและปลอดภัย การศึกษาเชิงพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลในแผนกสูตินรีเวชกรรม 1-2 โดยอาศัยแนวคิดกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โฟกัส พีดีซีเอ (FOCUS-PDCA) ซึ่งมี 9 ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ค้นหากระบวนการที่ต้องการปรับปรุง  2) สร้างทีมงานให้รู้เกี่ยวกับกระบวนการ 3) ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับกระบวนการ 4) ทำความเข้าใจสาเหตุของความแปรปรวนในกระบวนการ 5) เลือกวิธีการปรับปรุงกระบวนการ  6) วางแผนการปรับปรุง  7) ทำการเก็บข้อมูล วิเคราะห์และสนับสนุนการปรับปรุง 8) ตรวจสอบผลการปฏิบัติ   และ 9) ดำเนินการให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ทีมพัฒนาคุณภาพ ทีมผู้บันทึกทางการพยาบาล ทีมประเมินคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล และบันทึกทางการพยาบาล การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย  1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบประเมินคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

จากการนำแนวคิดกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วยโฟกัส พีดีซีเอ(FOCUS-PDCA) มาร่วมทีมค้นหากระบวนการ ทำความเข้าใจ วิเคราะห์ วางแผนงานและดำเนินการปรับปรุงคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลและเลือกวิธีที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา ได้คู่มือการบันทึกทางการพยาบาล และได้นำมาใช้ในการบันทึกทางการพยาบาลพบว่า ผลการประเมินคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล ก่อนและหลังการพัฒนา แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.54, df = 8, p < .01) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มหลังการพัฒนา (46.33) สูงกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนา (41.11) สำหรับความคิดเห็นต่อการใช้แบบบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น พบว่าร้อยละ 100 ของพยาบาลวิชาชีพ เห็นด้วยเป็นอย่างมากว่าแบบบันทึกทางการพยาบาลมีความสะดวกในการนำไปใช้ รองลงมาเห็นด้วยอย่างมากในความชัดเจนและมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน ร้อยละ 88.24 และสามารถเข้าใจง่าย ร้อยละ 82.35 ตามลำดับ

ผู้วิจัยได้สรุปผลการวิจัยเสนอต่อผู้บริหารการพยาบาลในการนำกระบวนการพัฒนาคุณภาพนี้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในแผนกอื่นในโรงพยาบาลต่อไป

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

สุรีย์ ธรรมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิวเวฟพัฒนา; 2540.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. การบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง; 2545.

ลักขณา ศรสุรินทร์. การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลแผนกที่หนักศัลยกรรม โรงพยาบาล สุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการบันทึกและตรวจประเมินคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.

สุรีย์ ธรรมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิวเวฟพัฒนา; 2540.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักการพยาบาลกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

อภิวัน ชาวดง. การพัฒนาแบบบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลเถินจังหวัดลำปาง. [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. สมุทรปราการ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ; 2552.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.

พัชราพร ตาใจ. การพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล จังหวัดลำพูน. [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

กาญจนา พรมเสน. การพัฒนาคุณภาพบันทึกทางการพยาบาลในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมืองปาน จังหวัดลำปาง. [การค้นคว้าแบบอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการพยาบาล]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/04/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย