การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • มาลีวรรณ เกษตรทัต กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลลำพูน
  • ศศิประภา ตันสุวัฒน์ กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลลำพูน
  • ศิรินันท์ ยิ้มโกศล กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แนวทางปฏิบัติ, การป้องกันและควบคุม, การพยาบาลผู้ป่วย, เชื้อดื้อยา

บทคัดย่อ

ปัญหาเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง พยาบาลจึงควรมีบทบาทในการป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล และประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยใน จำนวนทั้งสิ้น 198 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา พัฒนาขึ้นตามแนวคิด PRECEDE – PROCEED Model ของ Green and Kreuter (2005) ประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ  ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนา ระยะที่ 3 การทดลองใช้ และระยะที่ 4 การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา แบบประเมินการปฏิบัติการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา และแบบประเมินความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและเชิงปริมาณด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired Samples t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

ผลการศึกษาพบว่า จากการนำแนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้พบว่า หลังการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล พยาบาลวิชาชีพมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -20.072, P< 0.001) สามารถปฏิบัติการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ทั้งในด้านการแยกผู้ป่วย การจัดการผ้าเปื้อน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การทำความสะอาดมือ การจัดการสิ่งแวดล้อม การสวมอุปกรณ์ป้องกัน การสื่อสาร และการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติได้มากกว่าร้อยละ 80 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในระดับมากที่สุด (=4.24)

Author Biography

มาลีวรรณ เกษตรทัต, กลุ่มงานการพยาบาลด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลลำพูน

พยาบาลวิชาชีพขำนาญการ

References

World Health Organization. Antimicrobial resistance. Fact sheet updated January 2020. [online]. Available from http://www.who.int/ mediacentre /factsheets/fs194/en/.

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, และสุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, ปีที่ 6; ฉบับที่ 3 (2556): 352-360.

พรรณรวี โพธิ์เทียนทอง.Antimicrobial Resistance A Global Concern. วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม, ปีที่ 23; ฉบับที่ 3 (2560): 9-12.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การดำเนินงานชุดโครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการการดื้อยาต้านจุลชีพขององค์การอนามัยโลก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

โรงพยาบาลลำพูน. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลลำพูน 2561-2564. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2564.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ. แนวทางการควบคุมการแพร่กระจาย เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

นิภา ภู่ปะวะโรทัย. Suandok Supervision Model ในงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.med.cu.th/hospital/nis/Downloads/? p=771.

Green, L.W. and Kreuter, M.W. Health Program Planning: An Educational and Ecological Approach. New York: McGraw-Hill; 2005.

ธิดา กัมพูพงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, ศศิประภา ตันสุวัฒน์ และธนิญา น้อยเปียง. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, ปีที่ 9; ฉบับที่ 2 (2556): 76-98.

สมสมัย บุญส่อง. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในแผนกศัลยกรรมประสาทโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการบริหารการพยาบาลสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/10/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย