การวิเคราะห์สถานการณ์การดำเนินงานการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • คณิตา กาวงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น เป็นนโยบายสำคัญในการการลดผลกระทบทางลบ ต่อสุขภาพ
ของมารดาวัยรุ่นและบุตร การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ การดำเนินงานนโยบายการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น ณ โรงพยาบาลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านโครงสร้าง 2) ด้านกระบวนการ 3) ด้านผลลัพธ์ ข้อมูลในการวิจัยนี้จะเก็บด้วยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ข้อมูลองค์ประกอบด้านโครงสร้างและด้านกระบวนการจะเก็บด้วยวิธีเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน และผู้ให้บริการสาธารณสุข จำนวน 6 คน ข้อมูลองค์ประกอบด้านผลลัพธ์เก็บด้วยวิธีเชิงปริมาณ โดยการประเมินความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพที่ได้รับของกลุ่มหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ที่มารับบริการจำนวน 10 คน แบบประเมินความพึงพอใจได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นก่อนนำไปใช้ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลเชียงดาวได้มีการดำเนินงานตามนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบาย
ของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ 1. ด้านโครงสร้างพบว่า มีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาล มีการกำหนดตัวชี้วัดเฉพาะแต่ไม่มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบในการประเมินและติดตามการปฏิบัติตามนโยบายอย่างเป็นทางการ ไม่มีแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมารดาวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำโดยเฉพาะ ถึงแม้ว่าจะมีงบประมาณการดำเนินงานในการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นที่เฉพาะเจาะจงโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีทรัพยากร ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ อาคารและห้องแยกเฉพาะอย่างเพียงพอต่อความต้องการ  2. ด้านกระบวนการการดำเนินงาน พบว่า 1) มีการให้ความรู้การป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำแก่มารดาวัยรุ่นทุกระยะของการตั้งครรภ์ 2) มีการจัดบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นมีการรักษาความลับ ให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จ 3) มีการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อการพัฒนา ระบบการบริการสุขภาพ โดยการใช้สื่อออนไลน์ในการให้ความรู้ การประชาสัมพันธ์ 3. ด้านผลลัพธ์พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการบริการสุขภาพ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงการดำเนินงานการป้องกัน
การตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดบริการที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่นในโรงพยาบาล

References

เกตย์สิรี ศรีวิไล. การตั้งครรภ์ซ้ำในมารดาวัยรุ่นในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งของภาคใต้.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.2559; 3(3) : 142-52.

ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ทรงยศ พิลาสันต์, อินทิรา ยมาภัย, และคนอื่นๆ. ข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 2556 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : Studio Dialogue; 2562.

อารีรัตน์ จันทร์ลำภู, ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, บรรณาธิการ. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย; 2563.

กองแผนงานกรมอนามัย. รายงานประจำปีกรมอนามัย 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

Cmi.hdc.moph.go.th (อินเทอร์เน็ต) เชียงใหม่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่; 2562 (เข้าถึงเมื่อเข้าถึงเมื่อ 20 ก.พ.2563). เข้าถึงได้จาก: https://cmi.hdc. moph.go.th

Maravilla J.C. The role of community health workers in preventing adolescent repeated Pregnancies and births. Journal of Adolescent Health. 2016; 59:5-16.

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญุฤทธิ์ สุขรัตน์, เอกชัย โควาวิสารัช และคนอื่นๆ. คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร,: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

ฤดี ปุงบางกะดี่, เอมพร รตินธร. ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นไทย กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2557; 32(2):23-31.

สุภาพร มะรังษี. ปัจจัยเสี่ยงและแนวทางป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561; 26(2):84-9.

สุดกัญญา ปานเจริญ, จิราจันทร์ คณฑา,

ภัทรานิษฐ์ จองแก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น.วารสารสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 2563; 5(10):231-47.

ปฏิญญา เอี่ยมสำอางค์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2556; 8(1):55-67.

เรณู ชูนิล, กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญุฤทธิ์ สุขรัตน์. การให้บริการคุมกำเนิดของโรงพยาบาลในประเทศไทยปี 2558. รามาธิบดีเวชสาร. 2559; 39(2): 117-31.

Donabedian A. An Introduction to quality assurance in health care. Oxford University press; 2003.

พรรณี ปานเทวัญ. บทบาทพยาบาลและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2562; 20(2):33-43.

รุจิรา ตัณฑพงษ์, อัฏฐมา บุญปาลิต, เกริกฤทธิ์ อัมพะวัต. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร.; 2563.

ทองสุก กองแก้ว, วินัย จาปาอ่อน, รัตนะ ปัญญาภา. การนำนโยบายคุ้มครองผู้บริโภคในการควบคุมราคาสินค้าไปปฏิบัติของแขนงการค้าภายในแขวงจำปาสักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 2562; 4(2):70-83

สัญญา เคณาภูมิ, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. กรอบแนวคิดการศึกษาการวางแผนและการบริหารแผน. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2560; 4(2):389-411

ฐาปณี เสนทอง. ประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่:กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 2562; 2(3):31-42.

ธิติพัทธ์ ภูริชัยวรนันท์, ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์, วรางคณา จันทร์คง. ความสำเร็จในการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562; 5(4):63-72.

ศักดา สถิรเรืองชัย. การรักษาความลับของผู้ป่วย. วารสารเวชบันทึกศิริราช. 2556; 6(2):78-83.

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. กรุงเทพฯ: บริษัทพลัสเพรส จำกัด; 2557.

พนิดา เขตอริยกุล. การจัดอัตรากำลังบุคลากรพยาบาล ตามระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2554; 17(1):5-16.

อรพรรณ หนูเสน. การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2562.

จรัญญา ดีจะโปะ. บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการคุมกำเนิดชนิดกึ่งถาวรในมารดาวัยรุ่นโดยการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์. วารสารกองการพยาบาล. 2563; 47(2):1-10.

จุฑามาศ นันทะเนตร, จุฑารัตน์ สมบูรณ์ธรรม, ณัฐนันท์ สุขสงวน, และคนอื่นๆ. การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560; 4(2):161-81.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การให้คำปรึกษาทางเลือกสำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล. 2559; 31(2):5-16.

ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์. สมรรถนะของพยาบาลกับนวัตกรรมการดูแลสุขภาพประชาชน ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารสภาการพยาบาล. 2562; 34(1):5-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/21/2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย