ผลของกระบวนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ประดับ สังผลิพันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • อุษณี คงขุนเทียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • อำภาพร ผิวอ่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่1,2,3

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์และการคลอดบุตรเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผู้คลอดมีความกลัว วิตกกังวล และความเจ็บปวด การส่งเสริมสนับสนุนให้สามีและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าคลอด เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้คลอดลดความกลัวและเกิดประสบการณ์ที่ดีต่อการตั้งครรภ์และการคลอด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด เก็บข้อมูลในช่วง กรกฎาคม -ธันวาคม 2563 กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประชากรที่เป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการงานห้องคลอดจำนวน 7 คนและพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการที่ต้องหมุนเวียนปฏิบัติงานที่หน่วยงานห้องคลอดทุก 6 เดือนจำนวน 12 คน รวม จำนวน 19 คน กลุ่มที่ 2 สามีและญาติของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่ ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ที่ได้ผ่านโรงเรียนพ่อแม่ 2 ครั้งและเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด มาคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ จำนวน 24 คน เครื่องมือประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการสอนการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีทั้งหมด 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired samples t Test ผลการศึกษาพบว่า คะแนนความรู้และความสามารถในการสอนของพยาบาลหลังการพัฒนาศักยภาพสูงกว่าก่อนพัฒนาศักยภาพ (p < 0.001) คะแนนการรับรู้และความมั่นใจในการดูแลของสามีและญาติในการเฝ้าคลอดหลังการเข้าร่วมกระบวนการของสามีและญาติผู้ดูแลสูงว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ (p < 0.001) แสดงให้เห็นว่าผลการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และความสามารถด้านการสอนของพยาบาลวิชาชีพต่อการเตรียมความพร้อมของสามีและญาติในการเฝ้าคลอด มีความสอดคล้องกันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพและช่วยเสริมความมั่นใจในการดูแลผู้คลอดให้แก่สามีและญาติได้ ควรนำผลการศึกษานี้ไปปรับใช้กับพยาบาลวิชาชีพห้องคลอดเพื่อให้การดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพ

References

Cunningham F.G., Leveno K.J., Dashe J.S., Hoffman B.L., Spong C.Y., Casey B.M., et al.(2022). Williams obstetrics. 25th ed. New York: McGraw-Hill.

ปิยะนุช ชูโต. (2562). การพยาบาลผู้คลอดในระยะที่ 1 ของการคลอด. ในปิยะนุช ชูโต, การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีในระยะคลอดและหลังคลอด.หน้า 41 – 92. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตแอนด์เซอร์วิส จำกัด.

ธวัลรัตน์ กิตติศักดิ์ชัย, นันทพร แสนศิริพันธ์, กรรณิการ์ กันธะรักษา. (2556). ความกลัวการคลอดบุตรในสตรีมีครรภ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. พยาบาลสาร, (40), 12-21.

นราภรณ์ ฤทธิเรือง, พิริยา ศุภศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอด. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9(3): 48-56.

Mareta B Bakoil & Veki E Tuhana. Husband support during and after labor in kupang district. (2021). International Journal of Nursing and Midwifery Science. 5(2): 88-101.

Atefeh Salehi, Fariba Fahami, Marjan Beigi. The effect of presence of trained husbands beside their wives during childbirth on women's anxiety. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research. 2016 (เข้าถึงเมื่อ 2567 เมษายน 11). เข้าถึงได้จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5301069/

Bradley R. A. (2008). Husband-coached childbirth: The Bradley method of natural childbirth (5th ed.). New York, NY: Bantam Dell.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ. คู่มือ การมีส่วนร่วมของสามีหรือญาติ ในการเฝ้าคลอด. นนทบุรี : กองอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

ศศิธร เตชะมวลไววิทย์. (2558). ความปวดและการจัดการความปวดของมารดาในระยะที่หนึ่งของการคลอด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 31(1): 114-124.

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company

ชัยวุฒิ เทโพธิ์, & พงษ์เสถียร เหลืองอลงกต. (2020). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานใน องค์กร ปกครอง ส่วนท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้าน สมเด็จเจ้าพระยา, 14(1);251-265.

อนงค์ สุทธิพงษ์และคณะ. (2556). การพัฒนาศักยภาพพยาบาลเพื่อการจัดการความปวดให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 31(4):181-187.

สมคะเน โพธิ์บาย. ประสิทธิผลของการพัฒนาศักยภาพพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช หอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลบึงกาฬ. 2566 (เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2567).เข้าถึงได้จาก https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/.

ชาลินี เจริญสุข, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. (2561). ผลของการสนับสนุนในระยะคลอดโดยญาติผู้หญิงต่อความทุกข์ทรมานจากการเจ็บครรภ์คลอด การเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดและความพึงพอใจต่อประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 26(2): 67-75.

วิไลพร สมานกสิกรณ์, วรางคณา ชัชเวช, สุรีย์พร กฤษเจริญ, วัชรี จงไพบูลย์พัฒนะ, กัลยาณี บุญสิน. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการเตรียมตัวเพื่อการคลอดต่อประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรกและผู้ช่วยเหลือ.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 36(1): 99-114.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/27/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย