This is an outdated version published on 10/10/2022. Read the most recent version.

การพัฒนากระบวนการดำเนินงาน GREEN and CLEAN Hospital จังหวัดพะเยา

The Development on Operation Process of GREEN and CLEAN Hospital in Phayao Province

ผู้แต่ง

  • ปรียานุช เชิดชูเหล่า -
  • อัญญารัตน์ ภมรมานพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
  • วุฒิพงษ์ ยอดคำ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
  • พฤทธิ์ ชัยดรุณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลมีกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้ถูกต้องตามหลักวิชาการจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การบริหารจัดการโดยใช้ กลยุทธ์ CLEAN และกิจกรรม GREEN จะสามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital ของจังหวัดพะเยา โดยใช้แนวคิดการบริหารงานอย่างมีคุณภาพ (Deming Cycle: PDCA) ใน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Plan) ได้แก่ วิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบัน กำหนดเป้าหมายและวางแผนดำเนินงานในระดับจังหวัดโดยใช้แนวคิด SIX Auditing Blocks (SAB) และ Program Evaluation Review Technics (PERT) 2) การดำเนินการ (Do) นำแผนงานที่กำหนดไว้มาปฏิบัติ ควบคู่กับแนวคิดการนำองค์การโดยผู้นำระดับสูง, ระบบพี่เลี้ยง, การเยี่ยมเสริมพลัง,การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย 3) การประเมินผล (Check) ประเมินผลการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 4) การปรับปรุง (Act) คือ ทบทวน ปรับแนวทางการดำเนินงาน สู่การพัฒนาระบบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement: CQI) ระยะเวลาในการวิจัยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 - 2565  รวบรวมข้อมูลจากเอกสารการดำเนินงาน (Documentary Review) การประชุมกลุ่ม การลงพื้นที่ติดตาม นิเทศงาน โดยทำการศึกษาในโรงพยาบาลในสังกัดจำนวน 7 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงาน (Out put) ในปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาผ่านเกณฑ์การประเมิน GREEN and CLEAN Hospital ในระดับดีมากพลัส 100% (ค่าเป้าหมาย 60%) บรรลุเป้าหมายเป็นลำดับที่ 2 ของเขตสุขภาพที่ 1, มีการดำเนินงาน รพ.สต. GREEN and CLEAN สะสมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นมา จำนวน 39 แห่ง 2) ผลลัพธ์ (Outcome) มีชุมชนเครือข่ายอาหารปลอดภัย 31 เครือข่าย, มีโรงพยาบาลนอกสังกัดเข้าร่วมประเมิน GREEN and CLEAN Hospital 3 แห่ง ผ่านเกณฑ์ระดับดีมากพลัส 1 แห่ง โดยเป็นจังหวัดเดียวในเขตสุขภาพที่ 1 ที่ขยายการดำเนินงานสู่โรงพยาบาลนอกสังกัด และ มี Best practice/นวัตกรรม/ผลงานวิจัยในพื้นที่ที่ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรม GREEN and CLEAN Hospital รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ 1 แห่ง รางวัลรองชนะเลิศระดับเขต 1 แห่ง

ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน GREEN and CLEAN Hospital จังหวัดพะเยามาจากความร่วมมือของผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายในทุกระดับ สามารถยกระดับโรงพยาบาลสู่การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ชุมชนเพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในจังหวัดพะเยาอย่างยั่งยืน

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ;2559.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560

กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข.รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขประจำปงบประมาณ 2564. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, ปีที่ 1: ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2562); 39 – 46.

ภานุพันธ์ ไพฑูรย์. ปัจจัยความสำเร็จการขับเคลื่อนการดำเนินงาน รพ.สต.ติดดาว เขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, ปีที่ 6; ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2563: 168-177.

อัลดา กุลาสาและ ธัชชัย จิตรนันท์.การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริม สุขภาพระดับเพชร ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 7; ฉบับที่ 6 เดือนมิถุนายน 2563: 145-155.

น้ำทิพย์ จองศิริและวัชรพงษ์ แสนใจยา. การพัฒนาการดำเนินงานโรงพยาบาลอาหารปลอดภัย โรงพยาบาลแพร่. Journal of the Phrae Hospital, Volume 29 : No.1 January–June 2021; 66-79.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง. ปรับ-น่าน-เปลี่ยน ตอนที่ 3-1 จากแผนชุมชนสู่ชุมชนปลอดขยะ (Zero waste). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/101

นฤมล จิตรเอื้อ,เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน, และนลินณัฐ ดีสวัสด. บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. Veridian E-Journal, Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ : ปีที่ 10 :ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560 ;1738-54.

กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดีและ อัจฉรา กิจเดช. พัฒนาองค์กรด้วยระบบพี่เลี้ยง (มืออาชีพ). วารสาร Mahidol R2R e-Journal, ปีที่ 5: ฉบับที่ 1, 2561; 1-8.

สุปัญญดา สุนทรนนธ์. ปัจจัยความสำเร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รางวัลการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลโพสะ จังหวัดอ่างทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 9 ; ฉบับที่ 5 เดือน พฤษภาคม 2565 : 373 - 387.

นภวรรณ รัตสุข. การจัดการขยะแบบบูรณาการในชุมชน. Veridian E-Journal,Science and Technology Silpakorn University, ปีที่ 3: ฉบับที่ 5 เดือนกันยายน–ตุลาคม 2559; 260-273.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10/10/2022

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัย