รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • พลอยเนตร ชนานันท์พจนิธิ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
  • อโนชา วิปุลากร ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ไพรชล ตันอุด ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธษรณสุข
  • อรพรรณ พูลสวัสดิ์ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • พรพิสุทธิ์ ศรีประไหม ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ โรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส

บทคัดย่อ

       เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่รวดเร็ว ภาวะโภชนาการมีความสำคัญต่อเด็กวัยนี้ และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการพัฒนาคนและประเทศชาติ เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีและมีภาวะโภชนาการดี โรงเรียนจึงเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเด็กทุกด้านแบบองค์รวม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และกระบวนการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม – สิงหาคม 2561 กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงเรียนแกนนำชุมชนและภาคีเครือข่ายจำนวนแห่งละ 10-12 คน ในโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นพร้อมเป็นต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส จำนวน 5 โรงเรียน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม เครื่องมือประกอบด้วยแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน เกณฑ์การประเมินโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

       ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีรูปแบบการบริหารจัดการ โดยกำหนดเป็นนโยบายหลักของโรงเรียน มีการจัดทำแผนและการดำเนินงานตามแผน มีระบบการกำกับ ติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานเกิดจากความศรัทธาในโครงการพระราชดำริฯ ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุน ทีมดำเนินงานมีความเข้มแข็ง มีความมุ่งมั่นตั้งใจเสียสละ ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือโดยเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา กระบวนการดำเนินงานและการพัฒนา ทำให้โรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มีระดับความสำเร็จด้านผลผลิตและผลลัพธ์ อยู่ในระดับดีมาก แต่ด้านผลกระทบอยู่เพียงในระดับดี นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม แต่มีภาวะโภชนาการเกิน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่เพียงในระดับพอใช้ พบปัญหาอุปสรรคด้านผลิตผลทางการเกษตรไม่เพียงพอต่อการจัดอาหารกลางวันให้นักเรียน เสนอแนะให้นำสิ่งที่ได้จากการวิจัยไปขยายผลและพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อสร้างเด็กไทยให้เติบโตเป็นประชากรที่มีสุขภาพดี และเป็นกำลังของชาติในอนาคต นำปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน เป็น “โอกาสในการพัฒนา”ตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เชื่อมโยงจากระดับส่วนกลาง ลงสู่ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น

References

1. ระบบฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center : HDC). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน [อินเทอร์เน็ต] ; 2561 [เข้าถึงเมื่อ
30 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก
https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_ year=2018&source=pformated/format1.php&id=e28682b2718e6cc82b8dbb3e00f2e28e
2. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลการเจริญตามรอยพระยุคล
บาท พัฒนาด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การ
สงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.
3. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. คู่มือการประเมินตนเองโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส (ฉบับทดลองใช้ครั้ง
ที่1). นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2558.
4. ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท; 2546.
5. ประกายมาศ บรรจงรักษา, นพวรรณ เปียซื่อ, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์ และซู้หงษ์ ดีเสมอ. กรณีศึกษา:
การดำเนินงานด้านโภชนาการของโรงเรียนประถมศึกษา แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารสภา
การพยาบาล. 2561; 33: 125-37.
6. ดุษณี สุวรรณคง และคณะ. การรับรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักตัวเกินและอ้วนในนักเรียนของผู้ปกครอง ผู้นำ
ชุมชนและสมาชิกชุมชน ชุมชนชนบทภาคใต้ ประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล. 2562; 49: 7-18.
7. จงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี, ไพโรจน์ กระโจมทอง, วิรัตน์ดา ดวงใจ และคณะ. ระบบบริหารจัดการอาหารและ
โภชนาการในโรงเรียน กรณีศึกษา 10 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส. กองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2561: มูลนิธิสร้างเสริมวิถีบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (มอส.)
8. สุกัลย์ชนา ค้อศุภฤกษ์สกุล. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดโครงการอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนา
เด็กเล็กบ้านป่าแดง (เขาค้อ) สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัด
เพชรบูรณ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 : บูรณา
การงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา. 2559; 308-14
9. ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร, ทิพย์ลัดดา ชำนิกุล และยุมรี ศรีสุรัตน์. กระบวนการประชาสังคม“บวร”หลักใน
การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์. 2559 ครั้งที่ 3.
2559; 1-9.
10. นุชา สระสม. การมีส่วนร่วมใน "การบริหารแบบบ้าน วัด โรงเรียน" ของโรงเรียนวัด สังกัด
กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปกร;
2560.
11. กิจฐเชต ไกรวาส และคณะ. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในการส่งเสริมความเข้มแข็งของ
ชุมชนในภาคตะวันออก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา เงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ;
2560
12. พระมหาภูษิต อคฺควณฺโณ (ปุลันรัมย์). การนำหลักธรรมาภิบาลสู่การปฏิบัติเพื่อการบริหารงานขององค์กร
ยุคใหม่. บุรีรัมย์: นักวิชากาอิสระ; 2558.
13. สง่า ดามาพงษ์. ก้าวต่อไปเด็กไทยแก้มใส. ใน : สมาคมโภชนาการแห่งประเทสไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 9.
กรุงเทพฯ: บจก.ปัญญมิตร การพิมพ์; 2558: 47.
14. เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยในอีก 20 ปี ตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ
ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. นิตยสาร
สสวท. 2560; 45: 35-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2022