การรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัชรียา วรรณะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • จักรกฤษณ์ วังราษฎร์
  • สินีนาฏ ชาวตระการ

คำสำคัญ:

ภาวะโภชนาการเกิน, ผู้ปกครอง, นักเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ป.1 – ป.6 โรงเรียนบ้านป่าป้อง และ
โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
จำนวน 191 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ที่พัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียน ประกอบด้วยสองส่วนคือ การรับรู้สัญญาณทางกายภาพ และการรับรู้สัญญาณทางสิ่งแวดล้อม/พฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ Chi-square ในการหาความสัมพันธ์

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง
31 – 40 ปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ ประกอบอาชีพรับจ้าง ครอบครัวมีรายได้ต่อเดือน อยู่ที่ 5,001 – 10,000 บาท ลักษณะของครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว นักเรียนในปกครองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ
อยู่ในช่วง 10 – 12 ปี มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นส่วนใหญ่

ส่วนผลการศึกษาด้านการรับรู้ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่ มีการรับรู้ภาพรวมทั้งการรับรู้สัญญาณทางกายภาพ และการรับรู้สัญญาณทางสิ่งแวดล้อม/พฤติกรรม อยู่ในระดับน้อย การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ปกครอง กับระดับการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียน จำแนกตาม เพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และโรคประจำตัว พบว่า ปัจจัยด้าน เพศ อายุ อาชีพ และโรคประจำตัวของผู้ปกครองนักเรียนที่แตกต่างกันนั้น มีระดับการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านระดับการศึกษาของผู้ปกครองที่แตกต่างกันนั้น มีระดับการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลระดับการรับรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการปกติ กับระดับการรู้ภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนของผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินพบว่าไม่แตกต่างกัน ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ  เกี่ยวกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ในเด็กนักเรียน รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมเรื่องโภชนาการในเด็กนักเรียน แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน

References

1. สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข. การบูรณาการองค์ความรู้บทบัญญัติศาสนาอิสลามกับการสร้างเสริมสุขภาพ: อาหารและโภชนาการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551.
2. González-Álvarez, M. A., Lázaro-Alquézar, A., & Simón-Fernández, M. B.. Global Trends in Child Obesity: Are Figures Converging?. International Journal of Environmental Research and Public Health.2020;17(24).
3. World Health Organization[Internet]. Obesity and overweight; 2020 [cited 2020 Apr 18]. Retrieved from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
4. Wungrath J. Obesity among Preschool-aged Children in Thailand. Journal of Public Health. 2018;48(3):356-70.


5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ[อินเตอร์เน๊ต]. องค์การอนามัยโลกแนะเร่งแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็ก; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://is.gd/JEUUlf
6. Sabharwal S, Root M. Impact of Obesity on Orthopaedics. The Journal of bone and joint surgery American volume. 2012;94:1045-52.
7. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมป้องกันภาวะอ้วนในเด็กนักเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.
8. กัลยานณี โนอินทร์. ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(2):1-8.
9. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบรายงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน(JHCIS). [โปรแกรมคอมพิวเตอร์]. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562.
10. Fazio, R. H., Olson, J. M., Zanna, M. P., & Herman, C. P.. Self-perception theory: A current perspective. In Social Influency: The Ontario Symposium 1987; 5:129-5.
11. Bem, D. J. (1972). Self-perception theory. In Advances in experimental social psychology 1972;6:1-62.

12. สารภี จันทร์มุณ, และสุชาดา นวนทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 และ 6 ในอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง; 2560.
13. สุกัญญา บัวศรี, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาล, และอนงค์ สุนทรานนท์. ภาวะโภชนาการและกิจกรรมทางกายของนักเรียนอายุ 6-12 ปี จังหวัดเชียงราย. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์ 2562;3(2):81-94.
14. Aljunaibi, A., Abdulle, A., & Nagelkerke, N. Parental weight perceptions: a cause for concern in the prevention and management of childhood obesity in the United Arab Emirates 2013;8(3):e59923.
15. Aparajita Dasgupta, Aritra Bhattacharyya, Bobby Paul, Lina Bandyopadhayay. Influencers of childhood Over-nutrition: a cross sectional study among primary school children in Kolkata, International Journal of Contemporary Pediatrics 2017;4(4):1434-1438.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2022