สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 1
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยที่สัมพันธ์, เขตสุขภาพที่ 1บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตสุขภาพที่ 1 เก็บข้อมูลจาก ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ และพะเยา จำนวน 1,510 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขภาพ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณา ไคสแควร์ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างในเขตสุขภาพที่ 1 มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเฉลี่ย 84.29
จากคะแนนเต็ม 136 คะแนน เพศชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพใกล้เคียงกันคือ 84.21 และ 84.24 กลุ่มอายุ 15 – 24 ปีมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 97.45 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25 – 45 ปี คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 96.79 และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 72.59 ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลางร้อยละ 55.2 เมื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอร้อยละ 68.4 ระดับไม่เพียงพอร้อยละ 31.6 ภาพรวมความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอจำแนกตามเพศ และกลุ่มอายุ ดังนี้ เพศชายร้อยละ 68.57 เพศหญิงร้อยละ 68.30 กลุ่มอายุ 15 – 24 ปีร้อยละ 90.79 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปมีร้อยละ 46.86 วิเคราะห์ทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพ และมิติระบบสุขภาพรายด้าน พบว่า ทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพการเข้าถึงอยู่ในระดับต่ำ
ส่วนเข้าใจ ซักถามและตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับมิติระบบสุขภาพ พบว่า ด้านบริการสุขภาพและผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ส่วนด้านป้องกันโรคและด้านส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง
การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ อายุ การอ่าน สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ ความเพียงพอของรายได้ การมีบทบาทในชุมชน การตรวจสุขภาพโดยแพทย์ และค่าดัชนีมวลกาย กล่าวคือ เพศชายมีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพพอเพียงน้อยกว่าเพศหญิง 0.7 เท่า กลุ่มตัวอย่างอายุ 15 – 24 ปี,
อายุ 25 – 45 ปี และอายุ 46 – 59 ปี มีโอกาสที่จะมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพียงพอมากกว่าคนอายุ 60 ปี
ขึ้นไป 3.9, 6.4 และ 2.4 เท่า ตามลำดับ
References
2. ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. บทบรรณาธิการ บทเรียนการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจากนานาชาติสู่แผนการพัฒนาของประเทศไทย (Health Literacy: Lessons Learned from International Experience to the Thailand Context). วารสารสาธารณสุขศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2564]. 48(1)19-32. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php /jph/article/ download/88749/92383/
3. วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ Health Literacy. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.65.15/anamai_web/ewt_dl_link.php?nid=10221
4. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก3อ.2ส.ของประชาชนวัยทางาน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th
5. อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความแตกฉานด้านสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้น ไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ 2ส (ABCDE‐Health Literacy Scale of Thai Adults) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2564 เมษายน 28]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/news/ file/327
6. เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, จิริยา อินทนา และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2564 เมษายน 14];6 (ฉบับพิเศษ):1-16. เข้าถึงได้จาก: 61.19.22.216:90/excellent/uploads/2020041012050602.pdf
7. ธีรศักดิ์ ศรีพิทักษ์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน 2564]:1529-1545. เข้าถึงได้จาก: http://www.hu.ac.th/conference/conference2019/proceedings2019/FullText/02%20-%20ระดับชาติ%20-%20ภาคโปสเตอร์/G9-He/4-056He-NP%20(ธีรศักดิ์%20ศรีพิทักษ์)% 201529-1545.pdf
8. กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, นุชนาฏ สุทธิ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรค ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรค ความดันโลหิตสูง, Ramathibodi Nursing Journal [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2564];25(3):280-295. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol. ac.th / nursing/jns/DocumentLink/D_100710 .pdf
9. กิจปพน ศรีธานี.. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2564]; 11(1), 26-36 เข้าถึงได้จาก https://kb.hsri.or.th/dspace /handle/11228/4677?locale-ttribute=th
10. วิมลรัตน์ บุญเสถียร, และอรทัย เหรียญทิพยะสกุล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : สถานการณ์และผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน .63), 1 – 19.
11. อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข ความรอบรู้สุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion, [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2564]; 7(2), 76–95. เข้าถึงได้จาก https://so05.tci-thaijo.org > article > download
12. Lee SY, Tsai TL, Tsai YW, et al. Health literacy, health status, and healthcare utilization of Taiwanese adults: Results from a national survey. BMC Public Health [Internet]. 2010 [cited 2021 May 12]; 10:614-22. Available from:https://bmcpublichealth.biomedcentral.com/articles/10.1186/1471-2458-10-614
13. Diane Levin – Zamir et al. The Association of Health Literacy with Health Behavior, Socioeconomic Indicator and Self-Assessed Health From a National Adult Survey in Israel. Journal of Health communication [Internet]. 2016 [cited 2021 May 12];21(2): 61-68. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm. nih.gov /27669363/
14. Nasrin Mokhtar. Survey of the Relationship between Health Literacy Level and Health Status among Elderly People Referring to Retirement Centers in Rasht city. Journal of research development in nursing & midwifery [Internet]. 2007 [cited 2021 May 11]; 16:69-80.Availablefrom: http://nmj. goums.ac.ir/article-1-1113-en.pdf
15. Mahnoosh Reisi et al. Relationship between health literacy, health status, and healthy behaviors among older adults in Isfahan, Iran. Journal of education and health promotion [Internet]. 2012 [cited 2021 May 11]:1-31. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23555134/
16. Oo WM et al. Health Literacy – is it useful in prevention of behavioral risk factor of NCDs?. International Journal of Research in Medical Sciences [Internet]. 2015 [cited 2021 May 7];3(9):2331–2336. Available from: https://www.msjonline.org/index.php/ijrms/article/view/1718
17. Baker, D. W., Gazmararian, J. A., Sudano, J., & Patterson, M. The association between age and health literacy among elderly persons. Journal of Gerontology, [Internet]. 2000 [cited 2021 June 18];55B(6), S368-74 Available from: https://acade mic.oup.com/psychsocgerontology/article/55/6/S368/623814
18. Berkman, N. D., Sheridan, S. L., Donahue, K. E., Halpern, D. J., & Crotty, K. Low health literacy and health outcomes: An updated systematic review. Ann Intern Med, [Internet]. 2011 [cited 2021 June 18];152(2), 97–107. Available from: https://www.acpjournals.org/doi/full/10.7326/0003-4819-155-2-201107190-00005
19. Bodur, A. S., Filiz, E., & Kalkan, I. Factors affecting health literacy in adults: A community based study in Konya, Turkey. International Journal of Caring Sciences, [Internet]. 2017 [cited 2021 June 18]; 10(1), 100–109. Available from: http://www.internationaljournalofcaringsciences.org/docs/11_kalkan_original_10_1.pdf
20. Kim, S. H. Health literacy and functional health status in Korean older adults. Journal of Clinical Nursing, [Internet]. 2009 [cited 2021 June 18]; 18, 2337–2343. Available from: https://www.semantic scholar.org/paper/%5BThe-influence-of-functional-literacy-on-perceived-Kim-Lee/e0c46cfc41f6615a6be0cb517faae10297100552
21. Sudore, R. L., Yaffe, K., Satterfield, S., Harris, T. B., Mehta, K. M., Simonsick, E. M., Schilinger, D. Limited literacy and mortality in the elderly. J Gen Intern Med, [Internet]. 2006 [cited 2021 June 18]; 21, 806–812. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1831586/#idm139696306249552title
22. Wu, Y., Wang, L., Cai, Z., Bao, L., Ai, P., & Ai, Z. Prevalence and risk factors of low health literacy: A community-based study in Shanghai, China. International Journal of Environmental Research and Public Health, [Internet]. 2006 [cited 2017 June 18]; 14(6), E628. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5486314/