การประเมินผลโครงการ นิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประเมิน; การนิเทศงาน; แบบจำลองซิป (CIPP Model)บทคัดย่อ
การประเมินผลโครงการนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับงานสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ นำ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม เป็นกรอบในการประเมิน ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสม ข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการนิเทศงานในระดับอำเภอจำนวน 97 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงตามความสมัครใจจากผู้แทนโซนนิเทศงานจำนวน 22 คน
ผลการประเมินพบว่า ด้านบริบทสภาวะแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก ( = 3.79) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก ( = 3.95) ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก ( = 3.89) ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.90) ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแบ่งโซน ควรนิเทศงานเป็นรายอำเภอด้วยมาตรฐานเดียวกัน กรอบและตัวชี้วัดนิเทศงานควรครอบคลุมงานนโยบายและปัญหาของพื้นที่ และไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป ควรนิเทศงานตามกำหนด และมีผู้นิเทศครบตามประเด็นการนิเทศงานโดยมุ่งสร้างความเข้าใจในมาตรฐานการนิเทศงาน สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้รับนิเทศมากกว่าเน้นติดตามข้อมูลเชิงปริมาณ
ผู้รับนิเทศส่วนใหญ่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะว่ามีประโยชน์ เป็นกระบวนการสนับสนุนให้มีการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อจัดทำแผนแก้ไขปัญหาของพื้นที่และมีการติดตามความก้าวหน้าของงาน ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ควรเน้นหลักการเสริมพลัง ผู้นิเทศควรเป็นโค้ช และพิจารณากระบวนการนิเทศงานอย่างไรให้ผู้นิเทศและผู้รับนิเทศมีความสุข “Happiness Supervise Program”
References
2. ธารณิศร์ ทวีทรัพย์. (2551). ปัญหาและสภาพการนิเทศงานสาธารณสุขระดับจังหวัด: กรณีศึกษาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิชาการสุขภาพ, 3 (1), เดือนมกราคม – เมษายน 2551
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2561). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.
4. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. (2560). กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2558). คำสั่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ที่ 148/2558 ลงวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แต่งตั้งคณะทำงานการนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด.
6. Stufflebeam, Deniel L. (1987). The CIPP Model for Program Evaluation. In G.F. Madus et.al., (Eds). Evaluation Model: Viewpoint on Educational and Human Service Evaluation. Boston: Nijhoff Publishing.
7. นันทยา เศรษฐจิตต์. (มปป.). การนิเทศแบบให้คําปรึกษาแนะนํา/เสนอแนะ (Coaching). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://auan17.esdc.go.th/home/kar-nithes-baeb-coaching. (วันที่ค้นข้อมูล : 1 มกราคม 2563).
8. ภูษิตา อินทรประสงค์. (มปป.). หลักการนิเทศงาน. [เอกสารบรรยาย]. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
9. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure: SOP). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th /new_bps/Public_Document
10. วัชระ คงอุดหนุน. (2556). นักนิเทศที่ดี. [เอกสารบรรยาย]. ห้องประชุมสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี. วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556.
11. วนัสรา เชาวน์นิยม. (2555). หน่วยที่ 10 การนิเทศ ติดตาม กำกับ และประเมินผลงานสาธารณสุข.ในเอกสารการสอนชุดวิชาการ บริหารงานสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
12. ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์. (2562). หน่วยที่ 8
การนิเทศงาน และการติดตามกำกับงานสาธารณสุข ตามแนวทางการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวางแผนและประเมินผลงานสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
13. ปิยธิดา ตรีเดช. (2532). การนิเทศงานสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
14. ทองหล่อ เดชไทย. (2545). หลักการบริหารงานสาธารณสุข (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
15. ทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ. (มปป.).
นิเทศอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:// 203.157.184.6/Newaumpher/fileupload/8255tavee.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 12 กุมภาพันธ์ 2563).