ประสิทธิผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์กลุ่มวัยทำงานและ สูงอายุ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์, วัยทำงาน, วัยสูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการให้บริการระหว่างกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพื้นฐานกับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเต็มรูปแบบต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของวัยทำงานและวัยสูงอายุ การดำเนินการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณย้อนหลัง (Retrospective Quantitative Study) ใช้ข้อมูลที่บันทึกในเวชระเบียนระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2562 เป็นข้อมูลของผู้รับบริการที่มาติดตามที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพ อย่างน้อย 2 ครั้ง โดยมีระยะห่างการมาติดตามระหว่าง 75 ถึง 210 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินแบบประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ของวัยทำงานแบบประเมินพฤติกรรมพึงประสงค์ของวัยสูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิจัยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square T-Test และ Fisher’s exact test ผลการวิจัยพบว่าประชากรกลุ่มวัยทำงาน 277 คน และวัยสูงอายุ 515 คนที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าลักษณะประชากรของวัยทำงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญโดยกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมเต็มรูปแบบมีอายุ ดัชนีมวลกายและการมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่น้อยกว่า ในขณะที่ลักษณะประชากรของวัยสูงอายุเป็นเพศหญิงและการมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมพึงประสงค์ของวัยทำงานหลังนัดติดตาม พบว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเต็มรูปแบบ มีพฤติกรรมพึงประสงค์วัยทำงานรวมทั้ง 12 ด้าน ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพพื้นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 3.45 และ 0 ตามลำดับ, P value 0.030 *Fisher’s exact test) และพบพฤติกรรมพึงประสงค์รายด้าน ในด้านการมีกิจกรรมทางกายเพียงพอและการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับหรือโดยสารรถยนต์มากขึ้นหลังได้รับกิจกรรมฯเต็มรูปแบบเมื่อเทียบกับการได้กิจกรรมฯพื้นฐาน (ร้อยละ 58.6 และ 41.6 ตามลำดับในด้านกิจกรรมทางกาย, P value 0.008 * Chi square test และ ร้อยละ 98.9 และ 93.2 ตามลำดับในด้านการคาดเข็มขัดนิรภัย, P value 0.045 * Chi square test) ในกลุ่มวัยสูงอายุ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของพฤติกรรมพึงประสงค์ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเต็มรูปแบบและพื้นฐาน
References
2. ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ (ศอช.) กรมอนามัย. พฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์ผู้สูงอายุ. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฎาคม 7] เข้าถึงได้จาก URL://http:// multimedia. anamai.moph.go.th/infographics/go.th/infographics/health-expectancy-behavior-for-seniors/
3. นนทินี ตั้งเจริญดี, นพวรรณ โพชนุกูล, สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา และ คนอื่นๆ. โครงร่างการวิจัยพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพของประชาชนวัยทำงาน. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 2562 กรกฎาคม 7] เข้าถึงได้จาก URL://http://dental2. anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid= 2063.
4. Surveillance and Population-Based Prevention, Prevention of Noncommunicable Diseases Department, World Health Organization, Switzerland. Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ). [cited 2019 March 20] Available from: URL:// https://www. who.int/ncds/surveillance/steps/GPAQ_EN.pdf