การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • นารีรัตน์ แก้วสุทธิ โรงพยาบาลร้องกวาง
  • นางสัญญา สิริพงศ์พันธ์ โรงพยาบาลร้องกวาง
  • กรรณิการ์ ชัยนันท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลร้องกวาง จังหวัดแพร่ โดยใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของซูคัพ (Soukup, 2000) เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 8 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่เข้ารับรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และระยะเวลาในการเกิดอาการภายใน 2 ชั่วโมง 30 นาที จำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาล แนวปฏิบัติทางการพยาบาลและแบบบันทึกทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์อยู่ระหว่าง 0.6 – 1.0 และตรวจสอบความเชื่อมั่น ด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าความเชื่อมั่น 0.945 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) ได้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลร้องกวาง และผ่านการประเมินแนวปฏิบัติโดยใช้ AGREE พบว่าคุณภาพของแนวปฏิบัติสามารถนำไปใช้ได้จริง ร้อยละ 84.73 2) ผลลัพธ์ด้านพยาบาล พบว่า พยาบาลปฏิบัติงานที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 8 คน มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อแนวปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ75 3) ผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย หลังจากการนำแนวปฏิบัติไปใช้ พบว่า ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งส่งต่อออกจากโรงพยาบาลใช้เวลาเฉลี่ย 29 นาที จากเดิมเวลาเฉลี่ย 40 นาที ซึ่งพบว่าแนวปฏิบัติมีแนวโน้มในการลดระยะเวลาในการเข้าถึงยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) 

ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาทักษะของพยาบาลในการซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาทเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการที่เร็วขึ้น และการทำวิจัยเชิงผลลัพธ์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแนวปฏิบัติทางการพยาบาล

References

เอกสารอ้างอิง
1. ก้องเกียรติ กูณฑ์กันทรากร. ประสาทวิทยาทันยุค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 2553.
2. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
3. พักตร์พิมล หาญรินทร์. การพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการพยาบาลระดับหน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม [รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2551
4. สถาบันประสาทวิทยากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2550.
5. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสาหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2554.
6. สนองจิตร ไมตรี. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลวารินชาราบ[รายงานการศึกษาอิสระพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2555.
7. American Stroke Association [ASA]. Guidelines for the Early Management of Adults with Ischemic Stroke. 2007, from:http://www.strokeassociation.org.
8. Hanley, D.F. & Hacke, W. Critical care and Emergency Medicine Neurology. Stroke, 2004; 35: 365-366.
9. Knalessi, A.et al. Acute stroke intervention. JACC Cardiovascular Interventions 2011; 4: 261-269.
10. McGillivray B. & Considine J.Implementation of evidence into practice: Development of tool to improve emergency nursing care of acute stroke. Australasian Emergency Nursing Journal, 2009; 12: 110- 119.
11. National stroke Association. What Is stroke. 2012.
12. Wester, P., Radberg, J., Lundgren, B. & Peltonen, M.Factors Associated With Delayed Admission to Hospital and In-Hospital Delays> in Acute Stroke and TIA: A Prospective, Multicenter Study. Stroke, 1999; 30: 40-48.
13. SouKup, M.The Center for advance nursing practice evidence base practice model. Nursing Clinics of North American, 2000;35(2): 301-309.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01/06/2021