ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลจอมทอง
คำสำคัญ:
: หญิงตั้งครรภ์, ภาวะความดันโลหิตสูง, รูปแบบการดูแลของหญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลจอมทอง
กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลจอมทอง และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง จำนวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 ราย และกลุ่มควบคุม 35 ราย ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการดูแลของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลจอมทอง แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Mann-Whitney U Test, Wilcoxon signed rank test และ Chi-Square
ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลอง มีความรู้ในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ระยะฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P< 0.001) หญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองมีระดับความดันโลหิต systolic และ diastolic ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P<0.001, P=0.015 ตามลำดับ) และหญิงตั้งครรภ์ในกลุ่มทดลองมีความรุนแรงของโรคจากภาวะความดันโลหิตสูงในระยะฝากครรภ์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( P=0.041)
References
2. Cunningham, F. G., Leveno, K.L., Bloom,S.T., Spong, C.Y., Dashe, J.S., Hoffman,B. L., Sheflield, J.S.Hypertensive disorders in pregnancy. Williams Obstetrics. (24thed.). Boston: Mc Graw-Hill.2014.
3. โรงพยาบาลเปาโล.ความดันโลหิตของคุณแม่ตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. 2563. [เข้าถึงเมื่อ 2563 กุมภาพันธ์ 15]. เข้าถึงได้จาก:https://www.paolohospital.com/th-TH/phahol/Article /Details/บทความ-แม่และเด็ก/ความดันโลหิตของคุณแม่ตั้งครรภ์.
4. World Health Organization. Maternal mortality. [Internet]. 2020. [cited 2020 February 15]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality.
5. Rudra, P.,Basak, S.,Patil, D.,&Latoo. M. Y. Recent advance in management of pre-eclampsia. British Journal of Medical Practitioners. 2011;4(3): 433-441.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2561.กรุงเทพฯ:กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
7. Lopez-Jaramillo, P., Pradilla, L. P., Castillo, V. R., & Lahera, V. Socioeconomic pathology as a cause of regional differences in the prevalence of metabolic syndrome and pregnancy-induced hypertension. Revista Española de Cardiología (English Edition). 2007; 60(2): 168-178.
8. Roberts, J. M., Balk, J. L., Bodnar, L. M., Belizan, J. M., Bergel, E., & Martinez, A. Nutrient involvement in preeclampsia. The Journal of nutrition. 2003; 133(5): 1684-1692.
9. Barton, J. R., & Sibai, B. M.Prediction and prevention of recurrent preeclampsia. Obstetrics & Gynecology. 2008; 112(2): 359-372.
10. พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, ศิริรัตน์ อินทรเกษม, รัศมีแข พรหมประกาย, & ขวัญฤดี โกพลรัตน์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561; 36(2):
234-245.
11. สุชาดา เตชวาทกุล. บทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์. วารสารเกื้อการุณย์. 2558; 22(2): 7-19.
12. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
13. กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมาเจริญพาณิชย์; 2547.
14. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด; 2558.
15. Bloom BS. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Book 1: Cognitive domain. New York: Longman; 1979.
16. Osborn, Chandra Y., & Leonard E. Egede. Validation of an information–motivation–behavioral skills model of diabetes self-care (IMB-DSC). Patient education and counseling. 2010; 79(1): 49-54.
17. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรงเรียนพ่อ แม่เพื่อลูกรัก “สุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดีมีความสุข”. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2559.
18. วัชรี จิตรนาวี, เบญจศิริ สกุลเทพ, ดวงใจ วุฒิชาน, & บุญญรัตน์ ซุงสุวรรณ. The effect of discharge planning in maternal postpartum severe preeclampsia. Region 11 Medical Journal. 2017; 31(1): 165-170.
19. ชินณพัฒน์ พรมพันธ์. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ฐานการเรียนรู้เพื่อจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในเขตตำบลเนินยาง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.
20. Pender NJ, Murdaugh CL, & Parsons MA. Health promotion in nursing practice.(6thed.). Boston:Pearson. 2011.
21. เสาวลักษณ์ ค้าของ. ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.