ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนของประชาชน ในหมู่บ้านบ่อหลวง ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • โสพิณ หมอกมาเมิน กลุ่มวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่
  • สิริรำไพ ภูธรใจ กลุ่มวัยทำงาน ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน  พฤติกรรมการบริโภค   โรคคอพอก

บทคัดย่อ

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยมานานหลายทศวรรษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและคุณภาพประชากรของประเทศ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงและใช้เกลือเสริมไอโอดีนเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถแก้ปัญหาได้ผลจากองค์การอนามัยโลก อย่างไรก็ตาม  ได้มีการส่งเสริมการผลิตและใช้เกลือเสริมไอโอดีนในบ้านบ่อหลวง ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน แต่พบว่าความครอบคลุมการบริโภคเกลือและผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนของครัวเรือนยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำและพบอัตราป่วยโรคคอพอกสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนของประชาชน วิธีการศึกษาเป็นแบบผสมผสาน การศึกษาเชิงปริมาณเป็นการสำรวจความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนของครัวเรือนโดยใช้แบบสอบถาม และการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแกนนำชุมชนโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือวิจัยได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการจำนวน 3 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอน บาช (Cronbach Alpha Coefficient) อยู่ที่ 0.73 และผ่านการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เอกสารรับรองเลขที่ 14/2561 จากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ ดำเนินการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 ถึงมกราคม 2562  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนาอธิบายข้อมูลทั่วไปกลุ่มตัวอย่างและสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple linear regression) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคฯ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 41.9 ปี อาชีพค้าขาย มีรายได้ 4,000-5,000บาทต่อเดือน มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนคือ รายได้ครัวเรือน(p=.029)  การเข้าถึงแหล่งจำหน่วยผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน(p= .038) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร (p= .045) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่าครัวเรือนขาดความรู้และมีความเชื่อไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเกลือเสริมไอโอดีน เช่น ใช้หมักดองอาหารแล้วจะทำให้อาหารเน่าเสียและมีสีคล้ำ ทำให้อาหารรสชาติไม่อร่อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือทำให้เป็นหมัน ข้อแนะนำสำหรับการแก้ปัญหาคือการสร้างความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องให้กับครัวเรือนเกี่ยวกับผลกระทบจากการขาดสารไอโอดีน โดยผ่านแกนนำชุมชนและควรเพิ่มการสื่อสารด้วยภาษาท้องถิ่นจะทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ควรมีการเฝ้าระวังคุณภาพเกลือไอโอดีน การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีนในอาหารท้องถิ่น รวมทั้งบูรณาการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 

 

References

1. สำนักโภชนาการกรมอนามัย, แนวทางการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสำหรับเจ้าที่สาธารณสุข พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.กระทรวงสาธารณสุข, 2558
2. ร่มไทร สุวรรณิก, คอพอกประจำถิ่น.(อินเตอร์เนต) 2559 สืบค้น วันที่ 17 มิถุนายน 2561 เข้าถึงได้จาก: https://www.nutrition.anamai.moph.go.th.images/file
3. Iodine Global Network (IGN). Global scorecard of iodine nutrition in 2017 In the general population and in pregnant women (PW), 2017 [อินเตอร์เนต] สืบค้น วันที่ 20 มีนาคม 2560 เข้าถึงได้จาก: https://www.ign.org/scorecard.html
4. WHO. สถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนของโลก. [อินเตอร์เนต] 2560 สืบค้น วันที่ 10 มีนาคม 2561 เข้าถึงได้จาก: https://www.il.mahidol.ac.th/e-edia/iodine/chapter2/world.html
5. รายงานผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ.2548. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. 2548
6. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. การควบคุมและป้องกันโรคขาดสาร ไอโอดีน:สู่เส้นทางความยั่งยืน, กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.กระทรวงสาธารณสุข, 2559
7. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.กระทรวงสาธารณสุข 2560.
8. รายงานผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยที่สำคัญ พ.ศ.2555. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. 2555
9. UNICEF state of world’s children. Global experience with salt iodization: Percentage of households currently consuming iodized salt 2017 [อินเตอร์เนต] สืบค้น วันที่ 20 มีนาคม 2560 เข้าถึงได้จาก: https://www.ign.org/ scorecard. html
10. WHO. สถานการณ์โรคขาดสารไอโอดีนของโลก. [อินเตอร์เนต] 2560 สืบค้น วันที่ 10 มีนาคม 2561 เข้าถึงได้จาก: https://www.il.mahidol.ac.th/ e-media/iodine/chapter2/world.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ