การรับรู้ความเสี่ยงด้านมลพิษทางอากาศและปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • วิรัตน์ ซอระสี คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • นิพรรณ ศรีนวล หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วรางคณา นาคเสน คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • แสวง กาวิชัย หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
  • ทิพวรรณ ประภามณฑล หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, มลพิษทางอากาศ, อาการกำเริบเฉียบพลัน, การรับรู้ความเสี่ยง, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงด้านมลพิษทางอากาศและปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลัน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 48 คน เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 83.3% มีอายุเฉลี่ย 59 ปี ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 6.8 ปี การรับรู้ความเสี่ยงจากการสัมผัสอากาศหรือก๊าซที่มีมลพิษของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้ความเสี่ยงจากควันจากการใช้ฟืนในการประกอบอาหารภายในบ้านอยู่ในระดับน้อยที่สุด ในขณะพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านั้นทันทีเมื่อเจอสิ่งกระตุ้นและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกอยู่ในระดับดีมาก แต่มีพฤติกรรมการรับประทานยาขยายหลอดลมทันทีเมื่อมีอาการอยู่ในระดับน้อย กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตัวในระดับดีเมื่อมีอาการกำเริบร้อยละ 52.1  เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปและการรับรู้ความเสี่ยงและการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลันพบว่า คะแนนการรับรู้ความเสี่ยงกับการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการกำเริบเฉียบพลันมีความสัมพันธ์กับสถานภาพสมรส ความพอเพียงของรายได้ และระยะทางจากบ้านถึงโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.003 0.046 และ 0.004 ตามลำดับ

References

1. Kuni N. Literature Review: The Current Situation and Care Model of Non-Communicable Diseases,1st Edition. Nonthaburi: Art Qualified Co.,Ltd.; 2014.
2. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global Strategy for the Diagnosis, Management, and Prevention of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. 2017.
3. Thonghong A, Thepsithar K and Jongphirianan P. Chronic Diseases Surveillance Report, 2012. WESR. 2013;44(51):801-816.
4. Pothirat C, Cahiwong W, Phetsuk N, et al. Comparative Study of COPD Burden Between Urban vs Rural Communities in Northern Thailand. International Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease. 2015;10(1):1035-1042.
5. Prapamontol T, Kerdnoi T, Hongsibsong S, et al. Air Pollution and Smog in Upper Northern Thailand, 1st edition. Chiang Mai: krongchang-printing Co., Ltd.; 2011.
6. Chiang Mai Information System. Soil resources and land use, http://gis.chiangmai. go.th/index.php?name=i
nfobase&themeID=7&pid=55&District_ID=3, 17 August 2016
7. Debaratana Vejjanukula Hospital Commemorating Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirinthorn’s 60th Birthday Anniversary. A Medical Statistics of Debaratana Vejjanukula Hospital. 2015.
8. Teppawong R. Management of Chronic Obstructive Pulmonary Disease Patients in a Community Hospital, Phrae Province. Journal of Health Systems Research. 2550;2(1):844-853.
9. Laniado-Laborín R.Smoking and Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD): Parallel Epidemics of the 21(st) Century. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2009;6(1):209-224.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ