ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในแม่ทำงานนอกบ้าน ในคลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พัฒนา ฤกษ์ดำเนินกิจ คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภ าพ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6เดือนเป็นวิธีการให้อาหารทารกที่ดีที่สุด แต่สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยมีแนวโน้มค่อนข้างต่ำ จากการรายงานโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีเพียง ร้อยละ 23.1 ใน พ.ศ. 2559ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนมาจาก “แม่ทำ งานนอกบ้าน” คลินิกนมแม่จึงได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแม่ทำงานนอกบ้านอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6เดือนในแม่ทำงานนอกบ้านคิดเป็น ร้อยละ 56 ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในแม่ทำงานนอกบ้าน ในคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ เพื่อพัฒนารูปแบบการให้การปรึกษาและช่วยเหลือ ในการเตรียมตัวแม่ก่อนกลับไปทำงานนอกบ้านให้มีประสิทธิภาพและประสบ
ผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ (Retrospective crosssectional study) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากแบบฟอร์มในการติดตามผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแฟ้มประวัติผู้รับบริการที่เป็นแม่ทำงานนอกบ้านในคลินิกนมแม่ในช่วงเดือนตุลาคมพ.ศ.2557 ถึงกันยายน พ.ศ.2559 มีจำนวนทั้งหมด131 คน ใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยChi-square ผลการวิจัย พบว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ประสบความสำเร็จ 82 คนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ ระยะเวลาเริ่มฝึกก่อนลูกอายุ 1 เดือนผู้เลี้ยงดูลูกในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันและวิธีการป้อนนมแม่ด้วยแก้ว จึงควรเริ่มต้นโปรแกรมนัดเตรียมความพร้อมสำหรับแม่ทำงานนอกบ้านโดยเร็วที่สุด โดยเฉพาะก่อนที่ลูกอายุ1เดือน และการป้อนด้วยแก้วเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ดี ให้ประสบผลสำเร็จ

References

1. กุสุมาชูศิลป์. Health Outcome of Exclusive Breastfeeding among Thai Children: TheFiirstCohortStudy
2. Murder,2006; Innis,2007; Cunningham et al.,2010; ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย,2550
3. ณรงค์ศักดิ์ อังคสุวพลา. “Smart Breastfeeding Smart Citizen” ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 45-7มิถุนายน 2556 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น. 2556:18
4. รายงานสถานการณ์สุขภาพประเทศไทย รายงานสถานการณ์สุขภาพเฉพาะเรื่อง .สาระสุขภาพ.ปีที่ 7 ฉบับที่ 13,1-15 เมษายน 2557.สืบค้นวันที่ 2 เมษายน 2560,จากwww.moph.go.th/ops/ thp/thp/index.php?id=296&group_=03
5. สุดา เย็นบำรุง.ผลของความเครียดต่อการให้นมแม่. ใน ส่าหรี จิตตินันท์ และคณะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความรู้สู่ปฏิบัติ. สำนักพิมพ์กรุงเทพ เวชสาร; 2546 : 109-111
6. กมลวรรณ ลีนะธรรม.ผลของโปรแกรมความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดของมารดาหลังคลอด;2556. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560. จาก www.tci-thaijo.org/index.php/ umt-poly/article/view/29510
7. ส่าหรี จิตตินันท์,วีรพงษ์ฉัตรานนท์,ศิราภรณ์สวัสดิวร.บรรณาธิการ. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ความรู้สู่ปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่2:สำนักพิมพ์กรุงเทพ เวชสาร; 2546.
8. มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. เรียนรู้นมแม่จากภาพ. ยูเนี่ยนครีเอชั่น จำกัด;2555:153.
9. 4th National Health Examination Survey 2008-2009. [cited 8 April 2017].Available from: http://www.nheso.or.th /loadfile/child_NHESO4%20(1).pdf.
10. Neifert M, Lawrence R, Seacat J. Nipple confusion: Toward a formal definition [Internet]. TheJournalOfPediatrics. 2017 [cited 8 April 2017]. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S002234769590252X
11. The Lancet Breastfeeding Series. จดหมายข่าว มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. 2017;:6.
12. Thulier D, Mercer J. Variables associated with breastfeeding duration. JOGNN 2009; 38(3): 259-68.
13. Osman H, Zein LE, Wick L. Cultural beliefs that may discourage breastfeeding among Lebanese women: a qualitative analysis. Int Breastfeed J 2009; 4: 1-6. Available from: URL: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/ articles/PMC2774667/
14. Susin LRO, Giugliani ERJ, Kummer SC. Influence of grandmothers on breastfeeding Practices. Rev SaudePublica 2005; 39(2): 141-7.J
15. Yilmaz G e. Effect of cup feeding and bottle feeding on breastfeeding in late preterm infants: a randomized controlled study [Internet]. Ncbi.nlm.nih.gov. 2017 [cited 8 April 2017]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24442532https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27016350

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/05/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ