การประเมินโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุเทพ ฟองศรี กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยได้มุ่งประเมินโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอันเนื่องมาจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2560 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive studies) การประเมินได้ใช้รูปแบบ CIPP Model ได้แก่ บริบท (Context) มีการจัดทำโครงการเหมาะสมกับปัญหาของพื้นที่ ปัจจัยนำเข้า (Input) วิทยากร งบประมาณ เหมาะสม กระบวนการ (Process) การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพและผลผลิต (Product) ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน125 คนเพศชาย ร้อยละ 64.00 และเพศหญิงร้อยละ 36.00 กลุ่มอายุ 40-59 ปีมากที่สุดร้อยละ 56.80 อาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดร้อยละ 81.60 ระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 85.60 ไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพร้อยละ 88.80 มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกคน สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้อยู่ในกลุ่มใดไม่ทราบทุกคน มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชทั้งไกลโฟเสตและพาราควาททุกคนความรู้ภาคทฤษฎีก่อนการประชุมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ55.20 ความรู้ภาคทฤษฎีหลังการประชุมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 67.20 และคะแนนเฉลี่ยความรู้ภาคทฤษฎีก่อนและหลังการประชุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = <0.01) การประชุมมีความครอบคลุมและจำนวนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
กระบวนการ (Process)การอบรมเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ และผลผลิต(Product) ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนจำนวน 134 คนเพศชาย ร้อยละ 56.72 และเพศหญิง ร้อยละ43.28 กลุ่มอายุ 9-19 ปีมากที่สุด ร้อยละ 29.85 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร้อยละ 66.67 อาชีพเกษตรกรรมมากที่สุดร้อยละ 38.81ระดับการศึกษาประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 82.84 ไม่เคยเข้าร่วมประชุมหรืออบรมเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 90.30 มีการรับประทานปลาดิบ ร้อยละ 91.79 ลาบปลาดิบนิยมรับประทานมากที่สุด ร้อยละ 41.50 ปลาสร้อยเป็นปลาที่นิยมรับประทานแบบดิบๆ มากที่สุดร้อยละ 54.50 ความรู้ภาคทฤษฎีก่อนการอบรมอยู่ในระดับต่ำร้อยละ61.19ความรู้ภาคทฤษฎีหลังการอบรมอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ63.43และคะแนนเฉลี่ยความรู้ภาคทฤษฎีก่อนและหลังการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = <0.01) ระดับความรู้ภาคทฤษฎีหลังการอบรมของกลุ่มนักเรียนและกลุ่มผู้ใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.6744)การอบรมมีความครอบคลุมและจำนวนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
ผลกระทบ (Impacts)ผลการเจาะเลือดปี พ.ศ.2561เปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2560พบว่าระดับปกติและระดับปลอดภัยมีแนวโน้มลดลง ระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัยมีแนวโน้มสูงขึ้น การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สารเคมีทางการเกษตรกับผลกระทบต่อสุขภาพ อาจมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน สมควรที่จะต้องมีการปรับกระบวนการการดำเนินงานให้เหมาะสม
ผลการตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ ปี พ.ศ.2561 เปรียบเทียบกับปี พ.ศ.2560 พบว่าอัตราการติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แสดงว่าการอบรมเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ การตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับแล้วคืนข้อมูลให้ผู้รับการตรวจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาเกล็ดขาวแม่น้ำปิงปรุงสุก และการรณรงค์การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีนั้นมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน กิจกรรมนี้สมควรดำเนินการต่อไป

References

1. กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. สรุปผลการดำเนินงานโครงการเฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพืชอาหารพื้นที่ประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่, 2559.
2. กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมหนอนพยาธิประจำปีงบประมาณ 2557, 2557
3. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA)[ออนไลน์]. (ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก http://webdb.dmsc .moph.go.th/ifc_toxic/applications/files/HIA.pdf
4. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) [ออนไลน์] .(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 23พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก http://www.hpp-hia.or.th /whatis_hpp_thai1.html
5. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment)[ออนไลน์].(ม.ป.ท.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts /514493
6. กนกวรรณ รับพรดี, แคทรียา การาม, จักรินทร์ สีมา,และคนอื่นๆ ตงฉิน. 10 ปี เอชไอเอ การพัฒนาและขับเคลื่อนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2560
7. CIPP Evaluation Model [ออนไลน์]. (ม.ป.ท.) [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน2560เข้าถึงได้จาก http://ivanteh-runningman. blogspot.com/2015/03/cipp-evaluation-model.html
8. CIPP Model: รูปแบบการประเมินผลโครงการ เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพิศ สุขแสน [ออนไลน์]. (ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน2560เข้าถึงได้จาก http://hq.prd.go.th/plan /download/article/article_20140327100208.pdf
9. การประเมินผลโครงการ แบบซิปโมเดล (CIPP Model) [ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จากhttp://hq.prd.go.th/plan/download /article/article_20150210161738.pdf
10. นิมิตรมรกต, เกตุรัตน์สุขวัจน์. ปรสิตวิทยาทางการแพทย์: โปรโตซัว และหนอนพยาธิ. เชียงใหม่: โครงการตำรามหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2539
11. พยาธิใบไม้ตับ [ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน2560เข้าถึงได้จาก(Liver Fluke) http://www.med.cmu.ac. th/dept/parasite/public/opisthorchiasis.htm
12. โรคพยาธิใบไม้ตับ[ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก http://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-p-opisthorchis-th.php
13. โรคพยาธิใบไม้ตับ[ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เข้าถึงได้จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/department/parasitology/articledetail.asp?ac_id=15
14. โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย [ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://cascap.kku.ac.th
15. กลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ รายงานโครงการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีทางการเกษตรและการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน อันเนื่องมาจากการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2560
16. นางสาว ศกุณรัตน์ ตันติวงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสบแปะ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ รายงานโครงการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีการก่อสร้างประตูระบายน้ำแม่สอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.2561
17. Health Literacy [ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://cascap.kku.ac.th,https://www.nih.gov/institutes-nih/nih-office-director/office-communications-public-liaison/clear-communication/health-literacy
18. ประเด็น ความรอบรู้ด้านสุขภาพ [ออนไลน์].(ม.ป.ท.)[เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttp://dohhl. anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=57

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/29/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ