การพัฒนารูปแบบบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
  • ทิวาพร ผลวัฒนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อ          1) ทราบสถานการณ์ภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ และระบบการให้บริการการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ที่เข้ารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่   2) พัฒนารูปแบบบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ และ 3) ประเมินประสิทธิผลรูปแบบบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ ในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาสถานการณ์และระบบการให้บริการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  กลุ่มตัวอย่างคือ ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  ตั้งแต่ปี  2557- 2559 จากระเบียนรายงาน จำนวน 440 ราย จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปของหญิงตั้งครรภ์ การวินิจฉัย การรักษา และการกำกับติดตาม พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจางและการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ จากการทำ Focus Group หญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการในสถานบริการสาธารณสุขและได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโลหิตจาง จำนวน 3 ครั้ง รวม 43 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ( Content  Analysis ) รวมทั้งศึกษาเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง  นำไปพัฒนารูปแบบการบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์  เนื้อหารูปแบบประกอบด้วยการบริการผสมผสานแบบองค์รวม (comprehensive care ) 4 ด้าน คือ            การส่งเสริมสุขภา การป้องกันโรค                        การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ

 

เมื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์รูปแบบแล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นและข้อชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยาหลังจากนั้นนำไปดำเนินการสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาลนำร่อง 3 แห่ง และประเมินประสิทธิผลรูปแบบบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลนำร่อง 3 แห่งและได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโลหิตจาง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ –เดือนพฤษภาคม 2561 จำนวน 54 ราย เปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อน (Pre – Test) และหลังดำเนินการ(Post-Test)  โดยใช้ Z – test 

          ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลรูปแบบบริการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังดำเนินการ  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยภายหลังดำเนินการมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางโดยใช้เกณฑ์ฮีโมโกลบิน 2) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจางจากพาหะธาลัสซีเมียได้รับยาเสริมธาตุเหล็กที่เหมาะสม 3) จำนวนหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางมาตรวจตามนัด ( 1 เดือน ) และ 4) หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางและหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะโลหิตจางหลังตรวจเลือดครั้งที่สอง  ได้รับยาเสริมธาตุเหล็กเหมาะสม ส่วนอายุครรภ์ฝากครรภ์ครั้งแรก และการตรวจชนิดฮีโมโกลบิน (Hb Typing) ของหญิงตั้งครรภ์ที่ MCV < 80 fl ไม่พบความแตกต่าง ผลลัพธ์การดำเนินงานพบว่า จากผลการตรวจเลือดครั้งที่สอง หญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้นจากเดิม  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เช่นกัน

          การแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องแก้ไขเชิงระบบ ผสมผสานทั้ง 4 ด้าน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ได้มาตรฐานทางวิชาการและสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ มีการสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอในการดำเนินงาน ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน จะสามารถลดปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

1. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560] เข้าถึงได้จากhttp://wops.moph.go.th/ops/oic/ data/20180315154733_1_.pdf
2. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือและแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. กรุงเทพฯ; 2556.
3. ยงยส หัถพรสวรรค์, สมเกียรติ อรุณภาคมงคล, สุดารัตน์ ธีระวร และคนอื่นๆ. การศึกษาประสิทธิผลของ การดูแลภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐในประเทศไทย.เอกสารงานวิจัย; 2556.
4. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2549.
5. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงาน: บริการสุขภาพ (ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและคุ้มครองผู้บริโภค). กรุงเทพฯ : บริษัท บอร์น ทูบี ; 2559 .
6. กนกทิพย์ พัฒนาพัวพันธ์. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อการวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . เชียงใหม่ ; 2529.
7. ชลธิชา ตานา. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. [ออนไลน์]. (2554). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2560] เข้าถึงได้จากhttp://www.medicine.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=1372:2017-10-25-02-02-51&catid=45:topic-review&Itemid=561.
8. Renold, C., Dalenius,K., P., Smith, B., & Grummer-Strawn,L. Pregnancy nutrition surveillance 2008 Report.[online]. Atlanta U.S. Department of Health and Human Services, Center for Disease Control and Prevention. [Accessed 2017 January10] from https://www.cdc.gov/ nccdphp/dnpao/
9. จักษวัชร ศิริวรรณ. ตัวแบบการประเมินโครงการ: ตัวแบบซิป (CIPP Model). [ออนไลน์]. (มทป). [เข้าถึง เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561]เข้าถึงได้จากhttps://www.gotoknow.org/posts/440828

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ