ผลการประเมินมาตรฐานคลินิกให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน พ.ศ. 2556-2558 เขตสุขภาพที่ 1

ผู้แต่ง

  • สายสุทธี ร่มเย็น ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

ความสำคัญปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนมีความรุนแรงมากขึ้นแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น ผลกระทบที่ตามมาคือการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การแท้ง การทอดทิ้งบุตร การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ได้  ข้อมูลสถิติทั่วโลกพบว่าอัตราการคลอดบุตรของหญิงอายุ 15-19 ปี พบในอัตรา 55.7 ต่อพัน (World Population Prospects, the 2010th revision) และจากข้อมูลระดับประเทศของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2559 พบว่า อัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เท่ากับ42.5 ต่อพัน  อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำ ร้อยละ  11.9 อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นละเยาวชน เท่ากับ 43.44ต่อแสนโดยเขตสุขภาพที่ 1 พบอัตรา คลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 34.1 ต่อพัน  และจากข้อมูลHDCเขตสุขภาพที่1 รอบ9เดือนปี2560 (3)  อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำวัยรุ่นร้อยละ15.8ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(ไม่เกินร้อยละ ๑๐) โดยจังหวัดที่มีอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำสูง3จังหวัดแรกคือ เชียงราย แพร่ และเชียงใหม่ (ร้อยละ 18.36 , 18.35 และ 18.28  ตามลำดับ กรมอนามัยเริ่มวางแผนพัฒนาและจัดทำมาตรฐาน YFHS  เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานบริการให้มีการจัดบริการแก่วัยรุ่นอย่างครอบคลุม เพื่อให้วัยรุ่นและเยาวชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพที่มีมาตรฐานซึ่งจะส่งผลให้ปัญหาอนามัยการเจริญพันธุ์ในกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนลดลง ในอนาคต

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินรับรองมุมให้บริการที่เป็นมิตรแก่วัยรุ่นและเยาวชนปี 2556-2558

 

 

วิธีการศึกษาศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณใน8จังหวัดเขตสุขภาพที่1วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา,ร้อยละ

ผลการศึกษา   พบว่าในปี2556-2558อำเภอผ่านการประเมินรับรองจำนวน76ร.พ คิดเป็น ร้อยละ77.55 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ60  มีโรงพยาบาลในจังหวัดที่ผ่านการประเมินรับรองครบร้อยละ100 จำนวน ๒ จังหวัด คือ จ.พะเยา และจ.แม่ฮ่องสอน รองลงมาคือจังหวัด เชียงรายและ จังหวัดลำปางที่ผ่านการประเมินเกินร้อยละ90 ประเด็นสำคัญที่เป็นเงื่อนไขของความสำเร็จ คือ นโยบายของผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด  การบูรณาการทำงานภายในองค์กร ระบบข้อมูล การทำงานเชิงรุกและการสร้างภาคีเครือข่าย

สรุปและวิจารณ์การประเมินมาตรฐานคลินิกให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนเป็นวิธีการที่จะพัฒนาการให้วัยรุ่นได้รับบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานซึ่งต้องใช้เวลาและความมุ่งมั่น ผู้รับผิดชอบระดับจังหวัดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงานในการจัดบริการสุขภาพที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

ข้อเสนอแนะระดับจังหวัด ควรมีการนิเทศงานเพื่อกระตุ้นให้สถานบริการเห็นความสำคัญของการพัฒนา

คลินิกบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนให้เข้าประเมินรับรองตามมาตรฐาน

References

1. ยุพา พูนขำ. AFHS: ความก้าวหน้าที่ท้าทาย. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการอนามัย การเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 1 วันที่ 15 – 17 กรกฎาคม 2552ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: กองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย; 2552. หน้า 113–9
2. ประกายดาว พรหมประพัฒน์ การศึกษาการดำเนินงาน “คลินิกวัยรุ่น”ของโรงพยาบาล (Study of the Implementation of Hospital’ s Youth Clinic)2.
3. กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, สายพิณ คูสมิทธิ, บรรณาธิการ. มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่น และเยาวชน และแบบประเมินตนเอง.นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย และกองทุนแห่งสหประชาชาติ (UNFPA);2552.
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (ร่าง) คู่มือแนวทางการเยี่ยมสำรวจและประเมินโรงพยาบาลตาม มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน.(เอกสารอัดสำเนา)
5. กองอนามัยการเจริญพันธุ์. โครงการพัฒนาบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น. 2551. (เอกสารอัดสำเนา)
6. ยุพา พูนขำ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, รุจิราวัฒนายิ่งเจริญชัย.คู่มือแนวทางการดำเนินงาน “คลินิก วัยรุ่น” (สถานบริการที่เป็นมิตรกับวัยรุ่นและเยาวชน). สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย.
7. กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, สายพิณ คูสมิทธิ, บรรณาธิการ. มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรส าหรับวัยรุ่น และเยาวชน และแบบประเมินตนเอง.นนทบุรี: ส านักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย และกองทุนแห่งสหประชาชาติ (UNFPA);2552.
8. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา อนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553 - 2557. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี: ส านักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ