การศึกษาวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุมาพร นิ่มตระกูล งานผู้สูงอายุ กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง  343 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมปัจจัยนำและปัจจัยเสริมกับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุด้วยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารระดับปานกลางและภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการผิดปกติ จากการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุพบว่าปัจจัยทางสังคมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุคือ อายุ รายได้ และการมีโรคประจำตัว ส่วนเพศ สถานะภาพสมรส การพักอาศัยของผู้สูงอายุ รายได้ต่อเดือน และแหล่งที่มาของรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ปัจจัยนำซึ่งประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ ปัจจัยเสริมซึ่งประกอบไปด้วยการสนับสนุนกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุและการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจากสื่อต่างๆ มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ

References

1. คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,สำนักงาน.การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2533 – 2563. กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2535.
2. วาทินี บุพฐะลักษ์ .2545:11. สถาบันประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
3. สำนักงานพัฒนาระบบช้อมูลข่าวสารสุขภาพ,2551: 6-7.
4. Peuder, N.J. 1996. Health Promotion in Nursing Pactice. 3 nd ed. Applet on and Lange counecticest. Peuder. N.J. 1987 Health Promotion Nursing Pactice. Appleton century – Crofts. Norwalk.
5. จินตนา พรมลาย.2541. ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของการพัฒนากรเขต 3 กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.
6. อุมาพร นิ่มตระกูล. 2556. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน โดยวัดเป็นศูนย์กลาง วัดห้วยเกี๋ยง ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.
7. ดวงพร อารยะพงษ์. 2546 .ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในด้านการบริโภคอาหารของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า.
8. สุกัญญา ไผทโสภณ. 2540 . พฤติกรรมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี
9. สุทธนิจ หุณฑสาร. (2539 : 158) .พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสตรีวัยหมดประจำเดือนจังหวัดนนทบุรี.
10. จีราภรณ์ ตุ้ยทรัพย์. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของอาจารย์และบุคลากรในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต.

11. กองมณี สุรวงษ์สิน. 2552. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
12. สุทธิชัย จิตะพันธ์กุลและคณะ. 2542. ปัญหาของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ.
13. อนันต์ ตัณมุขยะกุล. 2526. อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ. สารสิริราช. 35, หน้า 153-159.
14. วีนัส ลีฤหกุล. 2542. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ ใน ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์ และพัสมนฑ์ คุ้มทวรพร (บรรณาธิการ) , การดูแลตนเองในวัยทอง. (หน้า 11-13) กรุงเทพฯ: ไพศาลศิลป์การพิมพ์.
15. สุรัตน์ โคมินทร์. มิถุนายน 2544. โรคอ้วนกับสุขภาพผู้สูงอายุ.ใน สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล (บรรณาธิการ) ,เอกสารประกอบการอบรมด้านผู้สูงอายุและความชรา. พ.ศ. 2544 ,หน้า 92-102).สมาคมพฤฒาวิทยา และเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย,กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
16. จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์. 2531. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 5(1). หน้า 119-1257).
17. อรวรรณ แผนคง. 2533. การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: บริษัทธนาเพรส จำกัด.
18. เกษม ตันติผลาชีวะ และกุลยา ตันติผลาชีวะ. การรักษาสุขภาพในวัยสูงอายุ.กรุงเทพ: อรุณการพิมพ์, 2528.
19. สำนักผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. มีนาคม 2556. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ,สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบราราชูปถัมภ์.
20. บรรลุ ศิริพานิช. คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ.: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2538.
21. นภาพร ชโยวรรณ มาลินี วงศ์สิทธิ์ และจันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย. ปัญหาของผู้สูงอายุภายในประเทศไทย: ผลการวิจัยเบื้องต้นในการประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สมาคมนักประชากรไทย, 2530.
22. บรรลุ ศิริพานิชและคณะและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่ยืนยาวและแข็งแรง. กรุงเทพฯ: สามัคคีการพิมพ์, 2531.
23. วิไลวรรณ ทองเจริญ, การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสรีรวิทยาในผู้สูงอายุ. ใน จรัสวรรณ เทียนประภาส และพัชรี ตันศิริ,บรรณาธิการ, การพยาบาลผู้สูงอายุ. หน้า 52-58. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2533.
24. อัมพร โอตระกูล. 2527.สุขภาพจิตผู้สูงอายุ.วารสารสุขศึกษา.7,(หน้า 25-31).
25. วลัยทิพย์ สาชลวิจารณ์, การประเมินภาวะโภชนาการทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา. เอกสารการสอนชุดวิชาโภชนาศาสตร์สาธารณสุข.กรุงเทพฯ: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2527.
26. ปรียานุช แย้มวงษ์. มิถุนายน 2544. ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้ดี. ในสุทธิชัย จิตะพันธ์กุล(บรรณาธิการ) ,เอกสารประกอบการอบรมด้านผู้สูงอายุและความชรา พ.ศ. 2544. (หน้า 103 – 109). สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย,กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
27. ภิญญา หนูภักดี และจิตรลดา ศรีสารคาม. 2545. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาการพยาบาลวิทยาพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี สังกัดกระทรวงสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/20/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ