รายงานผู้ป่วย การสร้างมิติแนวดิ่งขณะสบด้วยฟันเทียมบางส่วนชนิดถอดได้

ผู้แต่ง

  • ดวงนภา คูอาริยะกุล กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลน่าน

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่มีการสูญเสียฟันหลังไปหลายซี่ทำให้ฟันหลังที่เหลืออยู่ไม่มีคู่สบ เมื่อผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาโดยการทดแทนฟันหลังที่สูญเสียไปด้วยฟันเทียมแล้ว ผู้ป่วยก็จะใช้ฟันหน้าและฟันที่เหลืออยู่ในการบดเคี้ยว ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฟันที่เหลืออยู่มีการสึกกร่อนมากขึ้น  เกิดการสูญเสียมิติแนวดิ่งขณะสบตามมา ถึงกระนั้น เมื่อผู้ป่วยได้รับการทดแทนฟันหลังที่สูญเสียไปหลายซี่โดยการใส่ฟันเทียม แต่ไม่ได้มีการแก้ไขมิติแนวดิ่งขณะสบก่อน จะทำให้ การใส่ฟันเทียมนั้นไม่มีประสิทธิภาพในด้านการบดเคี้ยว ขาดความสวยงาม ฟันเทียมไม่คงทนแข็งแรง บทความนี้นำเสนอ การแก้ไขมิติแนวดิ่งขณะสบของผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ โดยไม่ได้รับการแก้ไขมิติแนวดิ่งขณะสบก่อน และพบปัญหาเรื่องการแตกหักของฟันเทียมเก่าที่ใส่มา  โดยมีขั้นตอนการรักษาคือหามิติแนวดิ่งขณะสบที่เหมาะสม จากนั้นทำฟันเทียมเฉพาะกาลให้ผู้ป่วย ซึ่งสอดคล้องกับระยะมิติแนวดิ่งขณะสบของผู้ป่วยที่วัดค่าได้ ภายหลังจึงทำฟันเทียมถอดได้ชนิดโคบอลต์ – โครเมียมให้แก่ผู้ป่วยใส่ต่อไป ผลการรักษาพบว่าสามารถฟื้นฟูการบดเคี้ยวที่มีความสัมพันธ์กับความสวยงามของใบหน้าที่ดีขึ้น ทันตแพทย์และผู้ป่วยพึงพอใจต่อการรักษาเป็นอย่างมาก

 

References

1. Turner KA, Missirlian DM. Restoration of the extremely worn dentition. J Prosthet Dent. 1984; 52(4): 467-74.
2. Vertical relations. [Cited 26/10/2560]. Available from: www.uobabylon.edu.iq/eprints/publication_10_452_1641.pdf.
3. Niswonger M.E. The Rest Position of the Mandible and the Centric Relation. J Am Dent Assoc. 1934; 21: 1572
4. Gupta A, Parneet. Prosthodontic Restoration of Vertical Dimension of Occlusion in Severly Worn Dentitions. IOSR-JDMS. 2013; 3(5): 38-40.
5. Lerner J. A systematic approach to full-mouth reconstruction of the severely worn dentition. Pract Proced Aesthet Dent. 2008; 20(2):81-87
6. Kamble Vd. Rehabilitation of Severely Worn Dentition and Partial Edentulism by Fixed and Removable Prostheses. Int J Prosthodont Res Dent. 2013; 3(2): 57-61.
7. วิเชฏฐ์ จินดาวณิค. Advanced removable partial denture in complicated case. กรุงเทพฯ: ย่อเอกสารคำสอน วิชา 3207-921 ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2558; 17-55.
8. Bataglion C, Hotta TH, Matsumoto W, Ruellas CVO. Reestablishment of occlusion through overlay removable partial dentures: a case report. Braz Dent J. 2012; 23(2): 172-174.
9. ดาราพร แซ่ลี้ และ ชลดา ละเอียด. ฟันเทียมคร่อมราก : ทบทวนวรรณกรรมและรายงานผู้ป่วย. ขอนแก่น: ว.ทันตะ.ขอนแก่น 2558; 18(1): 38-50.
10. Maxilla mandibular relation records. [Cited 26/10/2560]. Available from http://www.ffofr.org/education/lectures/ complete-dentures/maxillo-mandibular-relation-records/.
11. ฟันปลอม. [Cited 26/10/2560]. Available from http://healthculb.blogspot.com/2012/08/blog-post_2155.html.
12. Patel MB, Bencharit S. A Treatment Protocol for Restoring Occlusal Vertical Dimension Using an Overlay Removable Partial Denture as an Alternative to Extensive Fixed Restorations: A Clinical Report. Open Dent J. 2009; 3: 213-218.
13. Rivera-Morales WC, Mohl ND. Restoration of the vertical dimension of occlusion in the severely worn dentition. Dent Clin North Am. 1992; 36(3): 651-64.
14. วิเชฏฐ์ จินดาวณิค. ทบทวนเนื้อหาหลักฟันปลอมถอดได้ ตอน ๑. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 6-35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/19/2020