พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลและบรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ 2) ศึกษาบรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานกับพฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ โดยศึกษาจากประชากรจำนวน 86 คนใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและคำนวณหาค่า สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่ามีการรับรู้ในด้าน ความยุติธรรม ด้านการไม่ทำกระทำสิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นอันตราย ด้านการบอกความจริง ด้านการเคารพเอกสิทธิ ด้านการทำในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ ด้านความซื่อสัตย์ ตามลำดับ บรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานตามการรับรู้ของพยาบาลในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่ามีการรับรู้ในด้านการไม่ทำกระทำสิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นอันตราย ด้านความซื่อสัตย์ ด้านการเคารพเอกสิทธิ ด้านการบอกความจริง ด้านการทำในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ ด้านความยุติธรรม ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าบรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานกับ
พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< .01) ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมและบรรยากาศจริยธรรมที่ดีในสถานที่ทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการของพยาบาลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
2. อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม,สมใจ ศิระกมล. พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ.คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สยามพิมพ์นานาจำกัด ; 2558.
3. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย . จรรยาบรรณพยาบาล ฉบับปีพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : บริษัทจำกัดอัพทรูยู ครีเอทนิว ; 2546.
4. มณี อาภานันทิกุล และคณะ. จริยธรรมในวิชาชีพพยาบาล. กรุงเทพ ฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ; 2556.
5. สมยศ นาวีการ.การบริหาร.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ; 2536.
6. ฟาริดา อิบราฮิม. สาระการบริหารการพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ. สามเจริญพาณิชย์จำกัด ; 2542.
7. ประภาพร นิกรเสพย์.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศจริยธรรมในกลุ่มการพยาบาล การมีส่วนร่วมในงานของบุคลากรกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลทั่วไป เขตภาคกลาง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร ; 2546.
8. สภาการพยาบาล. คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล : กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัทจุดทองจำกัด ; 2558.
9. ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ. พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้และประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลผู้ใต้บังคับบัญชา ในโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา ; 2553.
10. จิรภา ฟักเถื่อน. บรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมช+นภาคใต้ภายใต้สถานการณ์ปกติและสถานการณ์ความไม่สงบ วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา ; 2552.
11. รชยา บุรพลพิมาน .พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ สายการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตำรวจ.วารสารพยาบาลตำรวจ.ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2554.
12. ฟาริดา อิบราฮิม.นิเทศวิชาชีพและจริยธรรมศาสตร์สำหรับพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพ. สามเจริญพาณิชย์จำกัด ; 2541.
13. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน.และคณะ.การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสู่โรงพยาบาลคุณภาพ .สระบุรี วรานันท์การพิมพ์ ; 2542.
14. ภัชรินทร์ เฉลิมบุญ. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชตามการรับรู้ของพยาบาลจิตเวชและผู้ป่วยจิตเวชในระยะฟื้นฟู โรงพยาบาลจิตเวชภาคใต้. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.2552.
15. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์ การจัดการองค์การพยาบาล ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2550.
16. อนิวัช แก้วจำนง. การจัดการทรัพยากรมนุษย์.สงขลา.บริษัทนำศิลป์โฆษณาจำกัด ; 2552.
17. พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์. คุณภาพการบริหารการพยาบาล.กรุงเทพ ฯ. บริษัทวีพริ้นท์ (1991) จำกัด ; 2551.
18. สิวลี ศิริไล.การสร้างเสริมบรรยากาศทางจริยธรรมในองค์กร .สืบค้นวันที่ 12 พฤษภาคม 2560.สืบค้นจากwww.med.cmu.ac.th/ethics/interested/int002.htm.