การรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • วิภาพร เตชะสรพัศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • อำนวยศรี เอกมณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ โดยศึกษาจากประชากรจำนวน 91 คน    ใช้แบบสอบถามตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่มีการรับรู้เกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในภาพรวมและทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่าเห็นด้วยมากในด้านแบบแผนความคิด รองลงมาคือด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ ด้านการทำงานเป็นทีม และด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ ตามลำดับ

References

1. องค์กรแห่งการเรียนรู้ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ . (วันที่อ้างถึง 18 มิ.ย.58) ที่มา: wpc.mod.go.th/Fundamentals/Fundamentals/Pdffile/LO.aspx.)
2. ชื่น เตชามหาภัย. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ : องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.แนวคิด มุมมอง เรื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ .พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2552.
3. บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.ภาวะผู้นำและกลยุทธ์ การจัดการองค์การพยาบาล ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ.โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2550.
4. ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์.ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท; 2551.
5. จำเรียง วัยวัฒน์, เบญจมาศ อ่ำพันธุ์ .วินัย 5 ประการพื้นฐานองค์กรเรียนรู้.พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ. เอ็กซเปอร์เน็ท ; 2540.
6. เดชน์ เทียมรัตน์, กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์. วินัยสำหรับองค์การเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3 .กรุงเทพมหานคร. เอกซเปอร์เน็ท ; 2545.
7. ธงชัย สมบูรณ์.จากองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่องค์การเปี่ยมสุข.กรุงเทพมหานคร: ปราชญ์สยาม; (2549 ข.)
8. Senge, P. M. The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday ; 1990.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/12/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ