ผลการสอนโดยใช้คู่มือดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแล ของพยาบาลผู้เริ่มต้นในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ
คำสำคัญ:
คู่มือดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ พยาบาลผู้เริ่มต้น (novice) พยาบาลพี่เลี้ยงบทคัดย่อ
การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้เริ่มต้น(novice) ในการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะเดิมใช้วิธีพยาบาลพี่เลี้ยงโดยไม่มีคู่มือเฉพาะ การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลองเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ 2) เปรียบเทียบคะแนนความรู้ของพยาบาลผู้เริ่มต้นก่อนและหลังสอนโดยใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะของพยาบาลผู้เริ่มต้นก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ กลุ่มตัวอย่างคือ 1) พยาบาลผู้เริ่มต้น (novice) จำนวน 5 คน 2 ) พยาบาลพี่เลี้ยงในหอผู้ป่วยหนักโรคหลอดเลือดหัวใจจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยคู่มือการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ แบบทดสอบความรู้ หาค่าตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 ความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของคอรนบาคได้ค่าความเชื่อมั่น 0.08 แบบประเมินพฤติกรรมและแบบสอบถามความพึงพอใจพยาบาลระดับเริ่มต้นและพยาบาลพี่เลี้ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Wilcox on Sign Ranks Test และ Friedman Test
ผลการศึกษา 1) คู่มือดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ประกอบด้วย หลักการแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจเต้นจังหวะแต่ละชนิด การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ 2) คะแนนเฉลี่ยความรู้การดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังการสอนโดยใช้คู่มือดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะสูงกว่า
ก่อนสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3 ) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างในการดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ประเมินโดยพยาบาลพี่เลี้ยงโดยใช้สถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลองสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างต่อคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะในระดับมาก ร้อยละ 100 และกิจกรรมการสอนระดับมาก ร้อยละ 60 5) ความพึงพอใจของพยาบาลพี่เลี้ยงต่อการสอนโดยใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ พบว่า ส่วนมากมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะในข้อที่สามารถนำไปใช้เป็นคู่มือการสอนในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 100
ข้อเสนอแนะ ควรใช้คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะร่วมกับการสอนในคลินิกโดยใช้พยาบาลพี่เลี้ยง ในการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลผู้เริ่มต้นในการดูแลผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ
References
2. Benner, P.. From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park: Addison-Wesley ;1984 .
3. เสาวนีย์ เนาวพาณิช, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, “และคนอื่นๆ”. การพัฒนาแบบประเมินสมมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลศิริราช.การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครั้งที่4. วันที่ 26-27 พฤศจิกายน2557 ณ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ;กรุงเทพ ฯ.
4. Foster, S. S..Core competencies required for the cardiac surgical nurse practitioner. Journal of the American Academy of Nurse Practitioner. 2012 ; 24: 472-475.
5. Jones, I., & Johnson, M. Wath is the role of the coronary care nurse?. A review of the literature. European Journal of Cardiovascular Nursing. 2008; 7: 163-170.
6. Sheilini, M., & Devi, E., S..Effectiveness of Educational Itervention on ECG Monitoring and Interpretation among Naursing Students. International Organization of Scientific Research Journal of Dental andMediacl Sciences.2014; 13(12): 1-5.
7. Drew, B. J..Celebrating the 100 th Birthday of the Electrocardiogram: Lessons Learned from Research in Cardiac Monitoring. American Journal of Critical Care .2002; 11: 378-388
8. ลัดดา สำราญกาย.การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลใหม่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ; 2557 . เข้าถึงได้จาก www.
http://kmmed.kku.ac.th/knowledge เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559
9. มาลี คำคง . การพัฒนาพยาบาลสู่คุณภาพการบริการในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ การสาธารณสุขภาคใต้ .2557; 1 (1) :77-84.
10. รุ่งอรุณ เกศวหงส์.การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมพยาบาลจบใหม่ให้เข้าสู่วิชาชีพ.วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2556; 3 (3):53-67.
11. พรศิริ พันธสีและ อรพินท์ สีขาว. ผลของการจัดการเยนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อการพัฒนาความสามาถในการใช้กระบวนการพยาบาลในคลินิกของนักศึกษาพยาบาล.วารสารสภาการพยาบาล 2552;24 (3): 81-93.
12. กฤตยา แดงสุวรรณ ชฏาพรฟองสุวรรณ และกฤษณี กมลมาตย. การสอนงานพยาบาลใหม่ ความท้าทาย องงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.วารสารพยาบาลสงขลา
นครินทร์.กุล .2558;.,35 (2): 35-44.