การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิภาพร เขื่อนคำ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลพร้าว

คำสำคัญ:

การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลป่าตุ้ม   อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้สูงอายุในชมรม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยคือกิจกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุโดยประยุกต์วินัย 5 ด้าน ของ Senge ทฤษฎีองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำนวน 5 กิจกรรม ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการทำงานเป็นทีม กลุ่มตัวอย่าง มีความกระตือรือร้นในการแสดงความคิดเห็น  และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมทีม รวมถึงร่วมกันตัดสินใจ 2) ด้านการพัฒนาตนเองสู่การเป็นเลิศกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพจากระดับรู้ปานกลางเป็นรู้ระดับมาก 3) ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ของชมรม ดังนี้ “เป็นชมรมผู้สูงอายุที่มีการส่งเสริมทันตสุขภาพต้นแบบ สมาชิกชมรมมีสุขภาพช่องปากดี” 4) ด้านการมีวิธีคิดโดยมุมมองที่เปิดกว้าง  ได้ร่วมกันคิดและกำหนดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรม 5) ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ กลุ่มตัวอย่างจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมดังนี้ ผู้สูงอายุฟันดี, ผู้สูงอายุเรียนรู้ตลอดชีวิต, เพื่อนเยี่ยมเพื่อน, รณรงค์ลดอาหาร หวาน มัน เค็ม เน้นทานผัก ผลไม้, ประกวดผู้สูงอายุ สุขภาพดี  ฟันดี  ในวันผู้สูงอายุของทุกปี ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ ตามทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างก่อนร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 1.94 อยู่ในระดับน้อยและหลังร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ย 4.50 อยู่ในระดับดี

 

References

1. กรมวิชาการ. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลำดับที่ 3 : แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว; 2544.
2. คำนึง ผุดผ่อง.ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของโรงเรียน สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่พัฒนาชายฝั่ง ทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2547.
3. จารุณี ตันติเวชวุฒิกุล. การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงงานอุตสาหกรรมมาบตาพุด.ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา; 2549.
4. เดช เทียมรัตน์ และกานต์สุดา มาฆะศิรานนท์.วินัยสำหรับองค์การเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์; 2545.
5. ประเวศ วะสี. สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2541.
6. พันธ์ทิพย์ รามสูต. การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.); 2541.
7. พิชัย เสงี่ยมจิตต์. เอกสารประกอบการสอนวิชา ผู้นำทางวิชาการและการพัฒนาหลักสูตร. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏอุบลราชธานี, อัดสาเนา; 2542.
8. วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท; 2544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ