การจัดโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียนน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนพุทธิโศภน อำเภอเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศศินันท์ ไชยอัมพรจิตร ภาควิชาการส่งเสริมสุขภาพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียนน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนพุทธิโศภน       อำเภอเมืองเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6           โรงเรียนพุทธิโศภน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ใช้เกณฑ์ในการเก็บสถิตินักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินและอ้วน จำนวนทั้งหมด 60 คน       ใช้วิธีการประชาสัมพันธ์และให้กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบสมัครใจ (Volunteer nonrandom method)  โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลอง และ   กลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียนน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และดัชนีมวลกาย (BMI) เปรียบเทียบน้ำหนักค่าดัชนีมวลกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้การทดสอบ   ค่าที (Independent Samples T-test) เปรียบเทียบความแตกต่างน้ำหนัก ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One Way Analysis of Variance with Repeated Measures) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยใช้วิธี  บอนเฟอโรนี (Bonferroni Method)

ผลการวิจัยพบว่า                              

  1. ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน น้ำหนักและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระหว่าง

กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 พบว่ากลุ่มทดลองมีน้ำหนักเท่ากับ 65.20±8.51, 63.66±8.35 และ 59.71±7.55 ค่าดัชนีมวยกาย BMI (kg/m2) เท่ากับ 29.70±3.60, 28.80±3.72 และ 27.32±3.13 ตามลำดับ กลุ่มควบคุมมีน้ำหนักเท่ากับ 66.00±7.30, 64.68±7.47 และ 63.68±7.34 ค่าดัชนีมวลกาย BMI (kg/m2) เท่ากับ 30.03±3.99, 29.10±3.64 และ 29.76±8.53 ตามลำดับ

  1. 2. ภายหลังการฝึกตามโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับนักเรียนน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 น้ำหนักและค่าดัชนีมวลกายของนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ดีกว่าก่อนการฝึกอย่างมีทางนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

1. อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ. โรคอ้วนความรุนแรงของปัญหาและแนวทางรักษา.กรุงเทพฯ: การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ณ ศูนย์ทิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร (วันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2549).
2. วรชัย ทองไทย. รายงานการวิจัยผู้สูบบุหรี่วัยรุ่นสูบบุหรี่และผู้รับควันบุหรี่ ในพื้นที่เฝ้าระวังทางประชากรกาญจนบุรี. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550.
3. วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ความหนัก 60-75 % MHR ต่อสมรรถภาพของเด็กอ้วน. การค้นคว้าแบบอิสระ สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2551.
4. มณีรันต์ ภาคธูป และรัชนีวรรณ รอส. “สาเหตุแลผลของความอ้วน กับการจัดการกับความอ้วนการ วิจัยเชิงคุณภาพแบบพัฒนาในเด็กที่มีภาวะอ้วนในเขตจังหวัดชลบุรี”. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2549, 14(2).
5. โรงเรียนพุทธิโศภณ. การประเมินการเจริญเติบโตของนักเรียนโรงเรียนพุทธิโศภณ ปีการศึกษา 2555. เชียงใหม่: โรงเรียนพุทธิโศภณ. 2558.
6. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2548.


7. ทัตมณี กมลานนท์. ผลการเต้นแอโรบิคแรงกระแทกต่ำที่มีต่อระดับไขมันในเลือดในสตรีวัยหมดประจำเดือน. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต], สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2544.
8. เจริญ กระบวนรัตน์. ร่างกายกับผลที่ ได้จากการออกกําลังกาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540.
9. สุดารัตน์ วาเรศ. ผลการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีต่อดัชนีมวลกายและเปอร์เซนต์ไขมันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์. สาขาวิชาการจัดการเรียนรู้พลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2556.
10. Power, S. K., & Howley, E. T. Exercise Physiology: Theory and Application to Fitness and Performance. New York: McGraw Hill. 2001.
11. นรินทรา จันทศร. ผลการฝึกสเต็ปแอโร บิกด้วยความหนักของจังหวะดนตรีต่อเปอร์เซนต์ไขมันในร่างกายและอัตราชีพจร. ปริญญานิพนธ์ง กศ.ม. (พลศึกษา). กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2552.
12. กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2542). กินตามวัยให้พอดี. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ