การศึกษาภาวะการเจริญเติบโตและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของเด็กวัยเรียนในภาคเหนือตอนบน ปีงบประมาณ 2556

ผู้แต่ง

  • เพ็ญจิตร กาฬมณี ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่
  • อโนชา วิปุลากร ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่
  • กิ่งพิกุล ชำนาญคง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาภาวะการเจริญเติบโตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยเรียนในภาคเหนือตอนบน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา                  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะการเจริญเติบโตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จำนวน 488  คน    จากโรงเรียน 22  แห่ง ในจังหวัดเชียงราย  น่าน และ ลำพูน  เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่  แบบสัมภาษณ์การบริหารจัดการของโรงเรียน แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน  แบบบันทึกการตรวจสุขภาพนักเรียน  เครื่องมือในการประเมินภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่  ร้อยละ และค่าเฉลี่ย 

ผลการวิจัย พบว่า ภาวการณ์เจริญเติบโตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 มีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ พบกลุ่มเสี่ยงค่อนข้างเตี้ย – เตี้ย ร้อยละ 15.6 มีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบกลุ่มเสี่ยงเริ่มอ้วน – อ้วน  และ ค่อนข้างผอม – ผอม  ร้อยละ 31.1 และ 16  ตามลำดับ  พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนยังไม่เหมาะสม เช่น  การรับประทานอาหารโปรตีนจากไข่ 3–4 วัน/สัปดาห์, ตับ/เลือด และปลา (1-2 วัน/สัปดาห์) ร้อยละ 39.1, 50.8 และ 46.1 ตามลำดับ ดื่มนมเปรี้ยว 1–2 วัน/สัปดาห์, รับประทานผักและผลไม้ทุกวันร้อยละ 35.1, 45.3 และ 27.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าได้แก่ ขนมขบเคี้ยวประเภทถั่วเมล็ดแห้ง หรือธัญพืชนานๆ ครั้ง, ผักสดบางครั้ง, อาหารที่ปรุงด้วยผักเป็นส่วนประกอบบ่อย (4-6 ครั้ง/สัปดาห์)  และผลไม้สดบ่อย ร้อยละ 42.8, 34.2, 32 และ  34.6 ตามลำดับ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มี

 

ความเสี่ยงต่อสุขภาพ  เช่น การดื่มน้ำอัดลม, การดื่มนมรสหวาน/ช็อคโกแลต/สตรอเบอรี่/นมเปรี้ยวบางครั้ง (2-3 ครั้ง/สัปดาห์) และ รับประทานไอศกรีมที่มีนม/กะทิเป็นส่วนประกอบหลักบางครั้ง ร้อยละ 43.4, 37.3  และ 37.9 ตามลำดับ  อาหารที่มีไขมัน/คอเรสเตอรอล 1-2 วัน/สัปดาห์, เนื้อสัตว์ติดมัน/มีไขมันสูง, อาหารประเภททอดน้ำมันลอยบางครั้ง, อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบหลักบางครั้ง และ รับประทานขนมที่มีกะทิ แป้ง น้ำตาล เป็นส่วนประกอบหลักบางครั้ง ร้อยละ 40.2, 63.5, 45.9, 44.5  และ 37.5  ตามลำดับ  รับประทานอาหารกึ่งสำเร็จรูปบางครั้ง และอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบตะวันตกนานๆ ครั้ง ร้อยละ 38.7 และ 44.3  ไม่เคยเติมเครื่องปรุงรสในอาหารก่อนชิม  ไม่เติมน้ำตาลปรุงรส  และไม่เติมน้ำปลา ร้อยละ 34.8,  29.7 และ 27.9 ตามลำดับ รับประทานขนมกรุบกรอบทุกวัน, ขนมขบเคี้ยวบางครั้ง,  ลูกอม/ท๊อฟฟี่/ลูกกวาด/ช๊อคโกแลต/ขนมประเภทหวานเหนียวบางครั้ง และขนมเบเกอรี่บางครั้ง ร้อยละ 32.4,  30.7, 39.5 และ 35.5  ตามลำดับ รับประทานขนมที่มีรสหวานมากนานๆ ครั้ง, ผลไม้ที่มีรสหวานจัดบางครั้ง, ผลไม้ที่แปรรูปนานๆ ครั้ง ร้อยละ50.6, 37.5  และ 50.2 ตามลำดับ ไม่เคยรับประทานอาหารมื้อก่อนนอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ร้อยละ 43.2  และนักเรียนออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬา และ ระยะเวลาออกกำลังกายน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 33.6  และ 46.9 ตามลำดับ  ควรเร่งรัดการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการที่เน้นการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียน, การแจกแปรงสีฟัน และยาสีฟันดำเนินการเพียงร้อยละ 59.1 ข้อเสนอแนะ ควรจัดอาหารกลางวันและกิจกรรมทางกายที่เพิ่มความสูงในเด็กกลุ่มเสี่ยงเตี้ยและค่อนข้างเตี้ย, ควรจัดกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยงเริ่มอ้วนและอ้วน, ผู้บริหาร สพฐ. และโรงเรียนควรเร่งรัดกิจกรรมบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สำมโนประชากรและเคหะ2543.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://popcensus.nso.go.th/table_stat.php?yr=2543
2. พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา และคณะ,กลยุทธ์การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ “วัยรุ่น”.กรุงเทพฯ: 2547.
a. 3. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย, คู่มือการดำเนินงานโครงการเด็กไทยทำได้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ . กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.2550.
3. ปนัดดา เหมือนมาตย์ และ คณะ .พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที5 – 6 ในถิ่นทุรกันดาร เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 11 และ 13. ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี.2553
4. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานในกลุ่มเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2533.
5. กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. คุณค่าภาวะโภชนาการของอาหารไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2535
6. ภิศักดิ์ เลิศเรืองปัญญา. การสำรวจงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเขตสุข ภาพที่ 1. ศูนย์อนามัยที่ 10 กรมอนามัย.2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ