ผลของกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พิมพาภรณ์ พรหมใจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่
  • อำนวยศรี เอกมณี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาผลกระบวนการ พัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการ 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการ 3. เปรียบเทียบผลของกระบวนการ, ระดับความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการ และ 4. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการของบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ กลุ่มประชากรคือบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จำนวน 99 คน ปี   พ.ศ.2556 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า (rating scale) ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการ เท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณา เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (z-test) ก่อนและหลังการเยี่ยมนิเทศ,แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสถิติบรรยายปัญหาและอุปสรรค กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการ ขั้นตอนการดำเนินงาน แจกแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลรอบแรก ในช่วงเวลา 3 เดือน ผู้วิจัยและทีม KM เข้าเยี่ยมนิเทศ, แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการโดยใช้แนวทาง PMQA ครบ 3 เดือนแจกแบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล   ครั้งที่ 2


ผลการวิจัยพบว่าผลของกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการของบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทั้งก่อนและหลัง ค่าเฉลี่ย,ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ก่อน µ = 1.12, σ = .47 หลัง µ = 1.17, σ = .46)  เมื่อพิจารณารายหมวดด้านการนำองค์กร, การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์, การวัด การวิเคราะห์การจัดการสารสนเทศและความรู้, การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และด้านการจัดการกระบวนการในภาพรวมอยู่ระดับปานกลางทั้งก่อนและหลังค่าเฉลี่ย (µ) (1.16,1.23),(.85,.97),(1.16,1.25), (1.08,1.11)และ(1.18,1.13)ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) (.49, .67),(.60, .58 ),(.50, .48),(.55, .53) และ(.54, .56) ตามลำดับ  แต่ด้านการให้ความสำคัญกับผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อยู่ระดับมากทั้งก่อนและหลัง ค่าเฉลี่ย (µ) 1.46 และ 1.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) .49 และ .47 ตามลำดับ  ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยโดยรวม ผลกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลแบบบูรณาการก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมนิเทศ, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจอยู่ระดับปานกลางทั้งก่อนและหลัง ค่าเฉลี่ย (µ) 3.43 และ 3.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) .47 และ .44 ตามลำดับ ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของบุคลากรต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการก่อนและหลังการเยี่ยมนิเทศ,แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ .01 ปัญหาและอุปสรรคกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการแบบบูรณาการของบุคลากรพยาบาล  ส่วนมากบอกว่าปริมาณงานมากต้องทำงานหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้ทำงานไม่ทัน ขึ้นเวรบ่าย ดึก  ไม่ได้เข้าร่วมประชุม และไม่เข้าใจในเรื่องการเขียนรายงานการประเมินไม่รู้ว่าแบบไหนถูก  แบบไหนผิด ต้องแก้ไขบ่อย ทำให้หมดกำลังใจ

References

1. อนุวัฒน์ศุภชุติกุล และ จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ : ดีไซร์. 2543.
2. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการเขียนรายงานตามเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์. 2553.
3. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ :อาร์ ดี พี. 2543.
4. Burrill, C.W, &Ledolter, J. Achieving quality through continual improvement. New York : John Wiley & Sons. 1999.
5. อนุวัฒน์ศุภชุติกุล. คุณภาพสู่ประชาชน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2542.
6. สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการเขียนรายงานตามเกณฑ์คุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์. 2553.
7. กนกพร ลีลาเทพินทร์, พัชญา มาลือศรี และ ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. การประเมินระดับคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลรัฐบาลในกรุงเทพฯ ด้วยแบบจำลอง SERVQUAL.มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.2554.
8. Kartz, J. Green, E. Managing quality : A quide to monitoring and evaluating nursing service. St Louis : Mosby. 1997.
9. ธนมณฑชนก เจริญสวัสดิ์. การพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี.2552.
10. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). คู่มือการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติสำหรับ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. พิมพ์ครั้งแรก นนทบุรี : บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด. 2554.
11. ชลิดา ตาคำปัญญา. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก. พุทธชินราชเวชสาร ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน. 2552.
12. อำนวยศรี เอกมณี และ พิมพาภรณ์ พรหมใจ. การประเมินโครงการการจัดการความรู้ในองค์การ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2554. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่.2554.
13. อุไรพร จันทะอุ่มเม้า, ดนุลดา จามจุรี และ ศิริมา ลีละวงศ์. การประเมินความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากรสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี : สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ