สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น:ศึกษาเฉพาะกรณีหญิงที่ฝากครรภ์หรือ คลอดในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • นฤนาท จอมภาปิน สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์หรือคลอดในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปางเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวของการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

วิธีดำเนินการวิจัย : เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์หรือคลอดในโรงพยาบาลเถินโดยเก็บข้อมูลในช่วง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึง มีนาคม พ.ศ.2558 โดยทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ พฤติกรรมทางเพศที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยศึกษาทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย : สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลเถินจำนวน 45 รายพบปัจจัยที่อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คือความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดและการตั้งครรภ์อยู่ในระดับต่ำ ร่วมกับความประมาทในเรื่องเพศสัมพันธ์และการใช้ชีวิตสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวเช่นการได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่ถูกต้องบิดามารดาไม่มีเวลาให้บิดามารดาแยกทางกันไม่มีการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่บุตร จึงทำให้วัยรุ่นส่วนหนึ่งไปหาข้อมูลเองนอกจากนี้พบว่า เพื่อนก็มีส่วนสำคัญในกลุ่มที่มีปัญหาครอบครัวทั้งนี้มีข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นความเหงาความอยากรู้อยากลองการเที่ยวเตร่และการดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นส่งผลให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันหรือป้องกันไม่ถูกต้อง

กล่าวโดยสรุปจากการศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้แก่การพร่องความรู้เรื่อง

เพศศึกษาความประมาทสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวและเพื่อนรวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น

References

1. Adolescent Pregnancy (Issues in Adolescent health and Development), World Health Organization 2004
2. รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่องปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา, 4-5, 15-29
3. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2553-2557), กระทรวงสาธารณสุข
4. ariyachaiphanit A, BunyarattapanP, Srianucha T, Pukdeewanit J, Khongmalai A, Chaikittiphon C, et al. Problem of teenage pregnancy.Bankok: The Secretariat of the Senate Committee 3; 2010. P.4-14.
5. คู่มือการจัดอบรม เรื่องเพศคุยได้ในครอบครัว, สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ