การศึกษาผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมงที่ห้องฉุกเฉิน และรับเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • วัฒนา นำพล งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน

คำสำคัญ:

กลับมาตรวจซ้ำ, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำใน 48 ชั่วโมง       ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน และได้รับเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำพูน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยจากระบบเวชระเบียนผู้ป่วย โรงพยาบาลลำพูน ศึกษาในช่วงเดือนตุลาคม 2554 – กันยายน 2556 ซึ่งคัดแยกผู้ป่วยที่กลับมาตรวจซ้ำ แล้วไม่ได้รับเป็นผู้ป่วยใน และผู้ป่วยที่กลับมาตรวจซ้ำจากมาตรวจตามนัด เช่น นัดทำแผล ฉีดยาต่อเนื่อง ฯลฯ ออก แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยกลับมาตรวจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง ที่ห้องฉุกเฉิน และรับเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลลำพูน มีจำนวน 104 ราย เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย กลุ่มอายุ 0 – 15 ปี กลับมาตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง เดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่ใช้รถพยาบาล ซึ่งเป็นการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่อุบัติเหตุ ไม่มีโรคประจำตัว มีระดับความรุนแรงจากการคัดกรองในระดับ 4 มักมาตรวจในช่วงเวลา 08.30 น. – 16.30 น. และใช้ระยะเวลาที่อยู่ในห้องฉุกเฉินน้อยกว่า 1 ชั่วโมง สาเหตุของการกลับมาตรวจซ้ำมากที่สุดมาด้วยปัจจัยจากตัวโรค ซึ่งมีอาการไม่ดีขึ้น และได้รับผลข้างเคียงของการรักษา จากกลุ่มอาการปวดท้อง  ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยมีการมาตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมง เป็นกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มาด้วยอาการปวดท้อง การคัดกรองผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงในการมาครั้งแรกอยู่ระดับ 4 สาเหตุเนื่องจากอาการไม่ดีขึ้น ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง นำไปสู่การเสียชีวิตหรือพิการได้ นำผลการศึกษามาใช้ปรับปรุงพัฒนา

ระบบงานบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน เพื่อช่วยลดอัตราการกลับมาตรวจซ้ำ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มารับบริการต่อไป

References

1. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาลลำพูน. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2556.
2. ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ทครีเอชั่น; 2550.
3. หน่วยงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. สถิติหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2556
4. Hobgood C, Croskerry P, Wears RL. Patient safety in emergency medicine. In: Tintinalli JE, Kelen GD, Stapczynski JS, editors.Emergency medicine: A comprehensive study guide. 6th ed. NewYork7 McGraw-Hill; 2004; p. 1912- 8.
5. Brennan TA, Leape LL, Laird NM. Incidence of adverse events and negligence in hospitalized patients. Results of the Harvard Medical Practice Study I. N Engl J Med 1991;324(7):370 - 6.
6. 6.Park H.V ,Song K.J.,Han S.K. Reduction of inappropriate revisits to the emergency department, 72 hours after being discharged. Available online 2004.
7. Martin-Gill C,Reiser RC.Risk factors for72-hour admission to the ED.Am J Emerg Med 2004;22:448- 53.
8. Braun R, Peterson D, Ma J. Emergency department revisits resulting in hospitalization: association of social demographic factors and medical care. Annu Meet Abstr Book. 1995; 12: 53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/06/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ