ความชุกและการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็กในภาวะโลหิตจาง ในทารกอายุ 6 และ 12 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พญ. ปิยาภา วงศ์หล้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

บทคัดย่อ

            ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากธาตุเหล็กมีความสำคัญต่อการพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลาง การเกิดโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในวัยทารกมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีผลกระทบต่อสติปัญญาและพฤติกรรมเมื่อเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ การวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กวิธีหนึ่งคือการติดตามการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็ก กล่าวคือ หากพบการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นเลือดหลังการรักษาด้วยธาตุเหล็กเป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 กรัม ต่อ ดล.  หรือฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3 บ่งบอกว่าผู้ป่วยน่าจะมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจาง โดยการตรวจฮีมาโตคริตที่ปลายนิ้วมือ ในทารกอายุ 6 และ 12 เดือนที่มารับบริการที่คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2557 และเก็บข้อมูลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็กในภาวะโลหิตจาง มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่ และทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA)  ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2557 ทารกที่ศึกษามีจำนวน 1,373 ราย 1,796 ราย และ 1,809 ราย ตามลำดับ แบ่งเป็นทารกอายุ 6 เดือน จำนวน 712 ราย 924 ราย และ 947 ราย  และทารกอายุ 12 เดือน จำนวน 661 ราย 872 ราย และ 862 ราย ตามลำดับ พบว่าใน        ปี พ.ศ. 2555, 2556 และ 2557 ทารกอายุ 6 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางมีจำนวน 9 ราย (ร้อยละ 1.3) 10 ราย (ร้อยละ 1.1) และ 13 ราย   (ร้อยละ 1.4) ตามลำดับ และทารกอายุ 12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางมีจำนวน 10 ราย (ร้อยละ 1.5) 11 ราย (ร้อยละ 1.3) และ 18 ราย (ร้อยละ 2.1) ตามลำดับ เมื่อดูการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็ก พบว่าทารกอายุ 6 และ 12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจาง จำนวน 29ราย เท่ากัน มีการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นเลือดตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็กจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 62.1) และ     

 

16 ราย (ร้อยละ 55.2) ตามลำดับ เมื่อดูความสัมพันธ์ของขนาดธาตุเหล็กที่รักษาภาวะโลหิตจางกับการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็กหลังการรักษา 1 เดือน พบว่าทารกโลหิตจางที่มีความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้นถึงระดับตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็ก ได้รับธาตุเหล็กเฉลี่ย 4.3 มก./กก./วัน ส่วนทารกที่ความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้นแต่ไม่ถึงระดับตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็กได้รับธาตุเหล็กเฉลี่ยเท่ากับ 3.6 มก./กก./วัน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.01)

สรุป การรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยดูการตอบสนองต่อการรักษาด้วยธาตุเหล็ก เป็นการรักษาที่คุ้มค่าและไม่ยุ่งยาก โดยธาตุเหล็กที่ได้รับควรให้ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม  การติดตามการตอบสนองต่อการรักษาภาวะโลหิตจางด้วยธาตุเหล็ก ควรใช้การวัดความเข้มข้นเลือดจากวิธีเดียวกัน เพื่อการเปรียบเทียบที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้การตรวจหาภาวะโลหิตจางหากใช้ค่าฮีโมโกลบินในการคัดกรอง ด้วยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วมือ นำมาตรวจโดยใช้น้ำยาคอปเปอร์ซัลเฟต ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการวัดระดับความเข้มข้นเลือดในผู้ที่บริจาคโลหิต หรือตรวจโดยเครื่องวัดฮีโมโกลบินชนิดพกพา (HemoCue) จะทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เนื่องจากเป็นการคัดกรองมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

References

1. กิตติ ต่อจรัส, รัชฎะ ลำกูล. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะโลหิตจาง[อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก/ http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/Anemia.pdf
2. Baker RD, Greer FR. Diagnosis and prevention of iron deficiency and iron deficiency anemia in infants and young children (0-3 years of age). Pediatrics. 2010; 126(5): 1040-50.
3. World Health Oraganization. Iron deficiency anemia: assessment, prevention, and control. A guide for programme managers. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2001. WHO/NHD/01.3.
4. กมล เผือกเพ็ชร. Guideline in Child Health Supervision. กรุงเทพฯ: สรรพสาร จำกัด; 2557
5. McLean E, Cogswell M, Egli l et al. Worldwide prevalence of anaemia, WHO Vitamin and Mineral Nutrition Information System, 1993-2005. Public Health Nutr. 2009;12(4):444-54
6. Stoltzfus RJ. Defining Iron-Deficiency Anemia in Public Health Terms: A Time for Reflection. JN[Internet]. 2000[cited 2015 Jan 15];131 no. 2:5655-75. Available from:http://jn.nutrition.org/content/131/2/565S.full
7. de Benoist B et al., eds. Worldwide prevalence of anaemia 1993-2005. WHO Global Database on Anaemia Geneva, World Health Organization, 2008
8. Pasricha SS, Flecknoe-Brown SC, Allen KJ, Diagnosis and management of iron deficiency anaemia : a clinical update. MJA[Internet]. 2010; 193(9): 525-32.
9. ภาวะโลหิตจางในเด็กก่อนปฐมวัย. ศูนย์อนามัยที่ 10[อินเตอร์เนต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก/ http://www.hpc11.go.th/intranet/index.php?topic=653.0
10. ชัยวัฒน์ อภิวันทนา, พรทิพย์ รักคำมี, สุจิตรา บางสมบุญ และคนอื่นๆ. ผลการศึกษาความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 6 เดือน ที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว และที่ไม่ได้รับนมแม่อย่างเดียว[อินเตอร์เนต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]. เข้าถึงได้จาก/http://km.libhpc8.com/?wpfb_dl=95
11. แยกดูสารอาหารในนมแม่-ทำไมนมแม่จึงดีกว่า. มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย[อินเตอร์เนต]. 2551[เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]; 6. เข้าถึงได้จาก/
12. วีณา มงคลพร, อัญชลี ภูมิจันทึก, อัมพร สมพงษ์ และคนอื่นๆ. เป็นเด็ก “ห้ามขาดธาตุเหล็ก”. เพื่อนสุขภาพ[อินเตอร์เนต]. 2555[เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]; 6. เข้าถึงได้จาก/ http://hpc5.anamai.moph.go.th/images/factsheet/fact%20sheet%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A3%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1.pdf
13. พชรวรรณ ลีลาภิรมย์ชัย. การศึกษาประสิทธิภาพผลการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็ก เปรียบเทียบกับกลุ่มรับประทานธาตุเหล็กเสริมทุกวันกับทุกสัปดาห์[วิทยานิพนธ์ วิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
14. Therapeutic Trials in Mild Iron Deficiency in infants. Nutr Rev [Internet]. 1982[cited 2015 Jan 15] ;40 (5) : 139-41.Available from: http://nutritionreviews.oxfordjournals.org/content/40/5/139
15. อิศรางค์ นุชประยูร. โลหิตจางในแม่และเด็ก. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 15 ม.ค. 2558]. เข้าถึงได้จากhttp://203.157.229.33/archives/Files/con_22_9_2557_3.pdf
16. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์, บรรณาธิการ. Guideline in Child Health Supervision. กรุงเทพฯ: สรรพสาร จำกัด; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/04/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ