กระบวนการหนุนเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ ทองเขียว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการหนุนเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอปางมะผ้า ระหว่างปีงบประมาณ 2555-2557 วิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงพรรณนาร้อยละ และอัตราเกิด อัตราตาย  ผลการดำเนินงานตามกระบวนการที่กำหนดพบว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีกระบวนการหนุนเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 5 กระบวนการ ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (2) การจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (3) การจัดสรรงบประมาณ (4) การพัฒนากลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน ประกอบด้วย การพัฒนาระบบงานคลินิกบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนในโรงพยาบาล การสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยรุ่นระดับอำเภอ การสร้างแกนนำเยาวชนในสถานศึกษา การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ และการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียน และ (5) การกำกับ ติดตาม นิเทศ   และประเมินผล

 

References

กรมสุขภาพจิต, คู่มือการดำเนินงานโครงการ 1 โรงเพยาบาล 1 โรงเรียน (One Hospital One School : OHOS). นนทบุรี; 2556.

กรมสุขภาพจิตและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ความท้าทาย. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2556.

กรมอนามัย, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น นโยบายแนวทางการดำเนินงานและติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข, การส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นและเยาวชนในชุมชน. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือแนวทางการจัดบริการสุขภาพวัยรุ่นแบบบูรณาการตามมารฐานกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข, นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2553–2557. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2553.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย, แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพ: บริษัทแอดวานซ์ พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด; 2557.

คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด แม่ฮ่องสอน, แผนแม่บทการคุ้มครองเด็กจงหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ.2557–2559. แม่ฮ่องสอน: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดแม่ฮ่องสอน; 2557.

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และคณะ, เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital quality indicators) กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2543.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย, มาตรฐานบริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนและแบบประเมินตนเอง. นนทบุรี; 2552.

องค์การแพธ (PATH), ก้าวที่กล้าบนทางไกล: ตัวอย่างการนำเพศศึกษาเข้าสู่หลักสูตรสถานศึกษาประสบการณ์จากโรงเรียนในโครงการก้าวย่างอย่างมั่นใจ: องค์การแพธ (PATH); 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2020

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ