ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม กับภาวะโลหิตจางและการฝากครรภ์ ที่ครอบครัวมีส่วนร่วม จากสถิติคลอดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
บทคัดย่อ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวตลอดกระบวนการฝากครรภ์ ตั้งแต่การให้คำปรึกษาแบบคู่ โรงเรียนพ่อแม่ การฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอด ตามแนวทางของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (Low Birth Weight, LBW) เป็นตัวชี้วัดหนึ่งตามเกณฑ์ของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว โดยในปี พ.ศ. 2554-2556 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่มี LBW ร้อยละ 6.8-6.9 แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมาย LBW ไม่เกินร้อยละ 7 ของการคลอดมีชีวิต โลหิตจางเป็นภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมที่สำคัญในสตรีมีครรภ์และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
จุดประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมของครอบครัวในกระบวนการฝากครรภ์ โลหิตจางขณะตั้งครรภ์ กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ จากสถิติคลอดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
วิธีการวิจัย: การศึกษาวิจัยข้อมูลย้อนหลังจากสถิติคลอดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556) มีการเกิดมีชีวิตทั้งหมด 1,557 ราย(รวมการตั้งครรภ์แฝด 7 คู่ มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ 8 ราย) ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ คือ การมีส่วน
ร่วมของครอบครัวในโครงการฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอดขณะฝากครรภ์ ความเข้มข้นของเลือดจากการเจาะเลือดครั้งแรกเมื่อมาฝากครรภ์และจากการเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
ผลการวิจัย: มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 106 ราย จากการเกิดมีชีวิตทั้งหมด 1,557 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.81, สตรีมีครรภ์ที่ครอบครัวมีส่วนร่วมในโครงการฯขณะฝากครรภ์ทั้งหมดจำนวน 338 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.55, สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกทั้งหมดจำนวน 452 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.62, สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ทั้งหมดจำนวน 420 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 30 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.14, แต่สตรีมีครรภ์ที่โลหิตจางเฉพาะเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์โดยที่เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกไม่มีโลหิตจาง มีจำนวน 196 ราย มีทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม จำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.57
สรุป: การมีส่วนร่วมของครอบครัวในโครงการฝึกเฝ้าคลอดและเตรียมตัวดูแลหลังคลอดขณะฝากครรภ์มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมที่ต่ำลง โลหิตจางเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมที่สูงขึ้น แต่โลหิตจางเมื่อเจาะเลือดครั้งที่สองหลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของครอบ ครัวฯ กับโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลร่วมของทั้ง 2 ปัจจัยต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม
References
ศิริกุล อิศรานุรักษ์. ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย: ปัญหาสุขภาพคนไทยที่ยังแก้ไม่ตก.วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2549; 4(1): 67-79.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. ผลการดำเนินงานปี 2554. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2554.นนทบุรี: กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2554. 19.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. ผลการดำเนินงานปี 2555. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2555.นนทบุรี: กองแผนงาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2555. 14.
Stoltzfus RJ, Mullany L, Black RE. Iron deficiency anemia. In Ezzati M, Lopez AD, Rogers A, Murray CJL, eds.Comperative quantification of health risks: global and regional burden of disease attributable to selected major risk factors. Geneva.World Health Organization, 2004: 163-209.
Kozuma S. Approaches to anemia in pregnancy. JMAJ 2009; 52(4): 214-218.
WHO/UNICEF/UNU. Iron deficiency anaemia assessment, prevention, and control a guide for programme managers. Geneva. World Health Organization, 2001.
WHO. Guideline: Daily iron and folic acid supplements in pregnant women. Geneva, World Health Organization, 2012.
Mitgitti R, Seanchaisuriya P, Schelp FP, Marui EJ, Yanai H. Low birth weight infants born to HIV-seropositive mothers and HIV-seronegative mothers in Chiang Rai, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2008; 39(2): 273-278.
อรพินท์ กอสนาน. ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556; 30(4): 287-299.
Park E, Lee HC, Han JY, Choi JS, Hyun T, Han Y. Intakes of iron and folate and hematologic indices according to the type of supplements in pregnant women. Clin nutr res 2012; 1: 78-84.
Ren A, Wang J, Ye RW, Li S, Liu JM, Li Z. Low first-trimester hemoglobin and low birth weight, preterm birth and small for gestational age newborns. Int J Gynecol Obstet 2007; 98: 124-128.
Kumar KJ, Asha N, Murthy DS, Sujatha MS, Manjunath VG. Maternal anemia in various trimesters and its effect on newborn weight and maturity: an observational study. Int J Prev Med 2013; 4(2): 193-199.
Yi S-W, Han Y-J, Ohrr H. Anemia before pregnancy and risk of preterm birth, low birth weight, small-for-gestation-age birth in Korean women. Eur J Clin Nutr 2013; 67: 337-342.
Xiong X, Buekens P, Alexander S, Demianczuk N, Wollast E. Anemia during pregnancy and birth outcome: a meta-analysis. Am J Perinatol 2000; 17: 137-146.
Allen LH. Anemia and iron deficiency: effects on pregnancy outcome. Am J Clin Nutr 2000; 71(5 suppl): 1280s-1284s.
Kavle JA, Stoltzfus RJ, Witter F, Tielsch JM, Khalfan SS, Caulfield LE. Association between anemia during pregnancy and blood loss at and after delivery among women with vaginal births in Pemba Island, Zanzibar, Tanzania. J Health Popul Nutr 2008; 26(2): 232-240.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY. Williams Obstetrics 23rded. New York: McGraw-Hill; 2010: 114-116.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY. Williams Obstetrics 23rded. New York: McGraw-Hill; 2010: 1080-1081.
Center for maternal and child enquiries (CMACE): Hemorrhage. BJOG 2011; 118(suppl.1): 71-76.
Cobb S. Social support as a moderator of life stress. Psychosom Med 1976; 38: 300–14.
Feldman PJ, Dunkel-Schetter C, Sandman CA, Wadhwa PD. Maternal social support predicts birth weight and fetal growth in human pregnancy. Psychosom Med 2000; 62: 715-725.
Picone TA, Allen LH, Schramm MM, Olsen PM. Pregnancy outcome in North American woman. 1. Effects of diet, cigarette smoking, and psychological stress on maternal weight gain. Am J Clin Nutr 1982; 36: 1205-1213.
Paarlberg KM, Vingerhoets AJJM, Passchier J, Dekker GA, van Geijn HP. Psychosocial factors and pregnancy outcome: a review with emphasis on methodological issues. J Psychosom Res 1995; 39: 563-595.
Dejin-Karlsson E, Hanson BS, Ostergren PO, Lindgren A, Sjoberg NO, Marsal K. Association of a lack of psychosocial resourses and the risk of giving birth to small for gestational age infants: A stress hypothesis. Br J Obstet Gynecol 2000; 107: 89-100.
Allen LH. Biological mechanisms that might underlie iron’s effects on fetal growth and preterm birth. J Nutr 2001; 131(2S-2): 581S-589S.
Bolten MI, Wurmser H, Buske-Kirschbaum A, Papousek M, Pirke KM, Hellhammer D. Cortisol levels in pregnancy as a psychobiological predictor for birth weight. Arch Women Ment Health 2011; 14(1): 33-41.
Eisenberger NI, Taylor SE, Gable SL, Hilmert CJ, Lieberman MD. Neural pathways link social support to attenuated neuroendocrine stress responses. Neuroimage 2007; 35(4): 1601-1612.
Rosenfeld CR, Barton MD, Meschia G. Effect of epinephrine on distribution of blood flow in the pregnant ewe. Am J Obstet Gynecol 1976; 124(2): 156-163.
Lobel M, Cannella DL, Graham JE, DeVincent C, Schneider J, Meyer BA. Pregnancy-specific stress, prenatal health behaviors, and birth outcomes. Health Psychol 2008; 27(5): 604-615.
Mendelson T, DiPietro JA, Costigan KA, Chen P, Henderson J. Associations of maternal psychological factors on umbilical and uterine blood flow. J Psychosom Obstet Gynecol 2011; 32(1); 3-9.