ความพึงพอใจของเจ้าของร้านอาหารและผู้บริโภคต่อโครงการจำหน่าย อาหารเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ:
อาหารเพื่อสุขภาพ, ความพึงพอใจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจของเจ้าของร้านอาหารและผู้บริโภคที่มีต่อการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับเจ้าของร้านอาหาร และ แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้บริโภค จากประชากรเจ้าของร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 38 ร้านอาหาร และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 113 คน
ผลการประเมินความพึงพอใจของเจ้าของร้านอาหาร พบว่า เจ้าของร้านอาหารมีความพึงพอใจโดยรวมต่อโครงการนี้ในระดับมาก และมากที่สุดเท่ากันที่ร้อยละ 47.4 และ ร้อยละ 55.3 มีความเห็นในระดับมากที่สุด ว่าโครงการนี้ควรมีการดำเนินงานต่อเนื่องต่อไป แต่มีร้อยละ 2.6 เห็นว่าโครงการนี้มีระบบการประสานงานที่ดีในระดับน้อยที่สุด และส่วนใหญ่ให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการอบรม หรือให้ความรู้กับผู้บริโภคด้วย
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคร้อยละ 51.3 มีความเห็นในระดับมากที่สุด ว่าโครงการนี้ควรมีการดำเนินงานต่อเนื่องต่อไป ร้อยละ 52.2 มีความเห็นในระดับมาก ว่าอาหารเพื่อสุขภาพตามโครงการนี้ส่งผลดีต่อสุขภาพ และโครงการนี้ส่งผลให้เกิดการดูแลสุขภาพผ่านการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ร้อยละ 47.8 มีความเห็นในระดับมาก ว่าโครงการนี้ส่งผลให้ผู้บริโภคใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น แต่มีร้อยละ 2.7 เห็นว่าโครงการนี้มีการประชาสัมพันธ์ที่ดีในระดับน้อยที่สุด จากผลดังกล่าวจึงควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
โดยสรุป จากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าทั้งเจ้าของร้านอาหาร และผู้บริโภค มีการตอบรับที่ดีต่อโครงการอาหารเพื่อสุขภาพ แต่ควรมีการพัฒนาต่อไปในส่วนของการประชาสัมพันธ์โครงการ การประสานงานโครงการ และการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงสุขภาพตนเองในผู้บริโภคต่อไปในอนาคต
References
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2560). สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). วารสารควบคุมโรค, 43(4), 379–390.
วิชัย เอกพลากร (บก.). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. (2559). สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2554). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. Retrieved from https://www.ict.up.ac.th/surinthips/ResearchMethodology_2554 /เอกสารเพิ่มเติม/การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.PDF
Mintel Marketing Intelligence. (2018). Thai consumers are on the road to self-betterment. Retrieved from https://www.mintel.com/press-centre/social-and-lifestyle/thai-consumers-are-on-the-road-to-self-betterment
ณัทธร สุขสีทอง. (2555). พฤติกรรมการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ ในตำบลสะลวง และตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Gittelsohn J, et.al. (2015). Lessons Learned From Small Store Programs to Increase Healthy Food Access. Am J Health Behav. 38(2): 307–315.
พรพรรณ ป้อมสุข. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพและปัจจัยที่สัมพันธ์กันในกลุ่มประชากรวัยทำงานในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พลอยไพลิน คำแก้ว. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจที่จะบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งของนโยบายอาหารและโภชนาการในประเทศไทยปี 2558.