การพัฒนา “ระบบสารสนเทศเปรียบเทียบประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน” สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ธนทรัพย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน (Chiang Mai Benchmark Information System : CMBIS) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานสำหรับหน่วยบริการ 2) ประเมินความพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศเปรียบเทียบเพื่อประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรของหน่วยงานภายในและหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ประชากรที่ใช้ในการพัฒนาระบบ CMBIS กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สุขภาพชุมชน จำนวน 286 แห่ง 2) ประชากรที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจต่อระบบ CMBIS กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้ระบบ CMBIS จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ  โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลจอมทอง โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการศึกษาจากประชากรทั้งหมด (Census) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  1) ระบบสาร CMBIS สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  2) แบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบ CMBIS โดยกำหนดเป็นมาตรวัดการประมาณค่าแบบลิเคิร์ต (Likert Scale) แบ่งเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า ระบบ CMBIS แบ่งส่วนตามลักษณะผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องเป็น 4 ส่วนคือ 1) ผู้ดูแลระบบ 2) ผู้รับผิดชอบฐานข้อมูล  3) ผู้รับผิดชอบข้อมูลตัวชี้วัด และ 4) ผู้บริหาร กระบวนการทำงานประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การตรวจสอบสิทธิ์การใช้งาน 2) การจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน 3) การจัดการฐานข้อมูล 43 แฟ้ม 4) การจัดการข้อมูลตัวชี้วัด          5) การออกรายงาน ผลการสำรวจการดำเนินงานและความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ระบบ พบว่า (1) ด้านประโยชน์ของระบบต่อการปฏิบัติงาน มีค่าเฉลี่ย 3.67 ± 0.73 คะแนน (2) ด้านโครงสร้างและการออกแบบ มีค่าเฉลี่ย 3.53 ± 0.84 คะแนน (3) ด้านการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ย 3.46 ± 0.88 คะแนนและความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 3.79 ± 0.62 คะแนน สรุปภาพรวม 3 ด้าน อยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีค่าเฉลี่ย 3.54  ± 0.83 ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและสนองตอบได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน  อย่างไรก็ตามในด้านการใช้งานระบบนั้นจะต้องมีการพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้ใช้งาน

References

1 ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร .(ร่าง) ความคิดเห็น การวิเคราะห์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ .นนทบุรี :สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ,2558.

2 นิตยา ทับพุ่ม.ปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดลพบุรีวิทยา.นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาลพบุรี สถาบันราชภัฏเทพสตรี, 2544.

3 มณี สุขประเสริฐ. Benchmarking: เครื่องมือสู่ความเป็นเลิศ. จุลสาร SPBB. นนทบุรี : กองแผนงาน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 21 เดือนสิงหาคม 2546).

4 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.โครงการศึกษาการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาไทยดวยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ,2546.

5 บุญดี บุญญากิจและกมลวรรณ ศิริพานิช. Benchmarking: ทางลัดสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2545.

6 ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547.

7 เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2546.

8 ทิพาวดี เมฆสวรรค์. การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท(ไทยแลนด์),2539
9 ศุภชัย ยาวะประภาษ. นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย, 2544.

10 สายสวาท โสขวัญฟ้า. การประเมินประสิทธิผลในการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรปราการ ปีงบประมาณ 2547-2549. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2551.

11 พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟท์แวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02/15/2019

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ