ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เคยมีอาการผิดปกติทางนรีเวชในคลินิกสูตินรีเวช โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ดาราณี มีเงินทอง โรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก, อาการผิดปกติทางนรีเวช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหามะเร็งหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เคยมีอาการผิดปกติทางนรีเวชมาก่อน ได้แก่ มีปริมาณตกขาวมาก สี และกลิ่นผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน มีอาการผิดปกติทางการขับถ่ายปัสสาวะ ปวดท้องน้อย และติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยทำการศึกษาในสตรีที่มีอาการผิดปกติทางนรีเวชที่เคยมาตรวจที่โรงพยาบาลสันป่าตอง จำนวน 297 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการตรวจ    แป๊ปเสมียร์ ผลการศึกษาพบว่าสตรีที่เข้าร่วมการศึกษา อายุเฉลี่ย 50.40 ปี ส่วนใหญ่จบระดับชั้นประถมศึกษา สถานภาพคู่ อาชีพรับจ้าง ไม่มีโรคประจำตัว มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย 22.69 ปี ส่วนใหญ่มีจำนวนคู่นอนคนเดียว  คู่นอนไม่มีโรคประจำตัว คุมกำเนิดโดยไม่ใช้ฮอร์โมน ไม่สูบหรี่ ไม่เคยตั้งครรภ์ ปัจจัยด้านจำนวนคู่นอนและโรคประจำตัวของคู่นอนมีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกในสตรีที่เคยมีอาการผิดปกติทางนรีเวชมาก่อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่       P < 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอายุ ระดับการศึกษา  สถานภาพ อาชีพ โรคประจำตัว อายุที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก วิธีการคุมกำเนิด  การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ ในสตรีที่เคยมีอาการผิดปกติทางนรีเวชมาก่อนไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 ผลการตรวจแป๊บเสมียร์พบความผิดปกติในผู้ที่เคยมีอาการปริมาณตกขาวผิดปกติร้อยละ 1.61 ผู้ที่เคยมีการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ร้อยละ 1.43 ผู้ที่เคยมีอาการปวดท้องน้อยร้อยละ 4.44 และพบว่าการมีอาการผิดปกติทางนรีเวชมาก่อนไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.05 

 

References

1. Imsamran W., Chaiwerawattana A., et al. Cancer in Thailand vol.VIII 2010-2012. Bangkok : New Thammada Press; 2015.

2. อิ่มสำราญ วีรวุฒิ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: พรทรัพย์การพิมพ์; 2560.

3. ศรีสมบูรณ์ จตุพล, เกียรติพีรกุล ชำนาญ. มะเร็งนรีเวชวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2554.

4. ทองสง ธีระ. นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ลักษมีรุ่ง; 2559.

5. Koteswari M., Nageswara Rao K., et al. A Study of Pap smear Examination in Women Complaining of Leucorrhea. Journal of Dental and Medical Sciences. Jan 2015;14(1):37-42.

6. Sujatha P., Indira V., et al. Study of PAP smear examination in patients complaining of leucorrhoea - A 2 years prospective study in a teaching hospital. IAIM. May 2016;3(5):106-12.

7. Misra JS SA, Sharique A., et al. Cervical Cytology Associated with Pelvic Inflammatory Diseases. J Cytol Histol. Jun 2015;6(4).

8. Giraud T CJ, Poulain P, et al. High prevalence of cervical intra-epithelial neoplasia in women treated for pelvic inflammatory disease. European Journal of Obstetrics, Gynecology and Reproductive Biology. 1998;81(1):51-4.

9. Abdul MA SS, Randawa JA, et al. The cervical smear pattern in patients with chronic pelvic inflammatory disease. Niger J Clin Pract. Sep 2009;12(3):283-93.

10. Snyman LC ZB, Dreyer G, et al. Urine cytology as a screening test for bladder infiltration in cervical cancer. Int J Gynecol Cancer. Jul- Aug 2006;16(4):1587-90.

11. Brisson J, Morin C, et al. Risk factors for cervical intraepithelial neoplasia: differences between low-and high-grade lesions. American Journal of Epidemiology 1994;140(8):700-10

12. L Kjellberg, G Hallmans, et al. Smoking, diet, pregnancy and oral contraceptive use as risk factors for cervical intra-epithelial neoplasia in relation to human papillomavirus infection. British Journal of Cancer 2000;82(7):1332-38

13. J Green, A Berrington, et al. Risk factors for adenocarcinoma and squamous cell carcinoma of the cervix in women aged 20-44 years: the UK National Case-Control Study of Cervical Cancer. British Journal of Cancer 2003;89(11):2078-86

14. Zhi-Chang Liu, Wei-Dong Liu, et al. Multiple Sexual Partners as a Potential Independent Risk Factor for Cervical Cancer: a Meta-analysis of Epidemiological Studies. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16(9):3893-900

15. Xavier Castellsague, F Xavier Bosch, et al. The male role in cervical cancer. Salud Publica Mex 2003;45(3):345-53

16. Sanjay N Parate, Arushi Gupta, et al. Cytological Pattern of Cervical Smears in Leukorrhea. International Journal of Scientific Study 2017;4(10):85-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/01/2018

ฉบับ

บท

บทนิพนธ์ต้นฉบับ