ผลกระทบของปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากการเผาอ้อย ของประชาชนตำบลบ้านเพชร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ผลกระทบปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน จากการเผาอ้อย, มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Cross-sectional Analytical Study) ศึกษาผลกระทบและความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองไม่เกิน 2.5 ไมครอน ( ) จากการเผาอ้อย ของประชาชนตำบลบ้านเพชร อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติก กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า ได้รับผลกระทบของปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ( ) จากการเผาอ้อย อยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย 32.35 คะแนน และความคิดเห็นต่อมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ( ) จากการเผาอ้อยอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.36 คะแนน ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการได้รับผลกระทบ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ เพศหญิงมีโอกาสได้รับผลกระทบเป็น 2.28 เท่า ของเพศชาย (OR=2.28; 95% CI: 1.47–3.54) บุคคลที่มีอายุเกิน 35 ปี มีโอกาสได้รับผลกระทบเป็น 1.62 เท่า ของบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี (OR=2.28; 95%CI: 1.034-2.54) และสถานภาพสมรสมีโอกาสได้รับผลกระทบเป็น 1.67 เท่า เมื่อเทียบกับสถานภาพโสด/หม้าย/ หย่าร้าง/แยกกันอยู่ (OR=1.67; 95% CI: 1.08-2.59) จากการศึกษาจะเห็นได้ว่าปัญหาฝุ่นละออง ( ) จากการเผาอ้อยเริ่มกระทบกับประชาชน จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหา โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดำเนินการตามมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ( ) จากการเผาอ้อยในพื้นที่อย่างจริงจัง นอกจากนี้แล้วการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรเลือกวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยวิธีอื่น จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ( ) จากการเผาอ้อยได้อย่างยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). มาตรการควบคุมและลดมลพิษจากการเผาในที่โล่งของภาคการเกษตร. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/strategy
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือปฏิบัติการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ระดับจังหวัด. ค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.pcd.go.th/Publication/13479
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ และณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 25 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563, 461 – 474.
เมตตา เก่งชูวงศ์. (2561). การศึกษาปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศและผลกระทบต่อประชาชน ในเขตขุมชนเทศบาลเมืองมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการตัดและส่งอ้อยให้แก่โรงงาน การตรวจสอบ คุณภาพอ้อยและการรับอ้อยจากชาวไร่อ้อยหรือหัวหน้ากลุ่มชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 138, 1.
ศิริพร เนธิบุตร, & ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์. (2564). ผลกระทบจากมาตรการลดการเผาอ้อยและการปรับตัวในเชิงวิถีการดำรงชีพของชาวไร่อ้อย กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าสวรรค์ ตำบลท่าสวรรค์ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(4), 95-102.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จากhttp://61.19.145.138/
cmpho_images/document/145143280422.pdf
สมชาย ชวนอุดม และคณะ. (2563). รายงานการวิจัยการแก้ไขปัญหา PM 2.5 จากการใช้เครื่องจักรกลเกษตร. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5). ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/
สรรพสิทธิ์ ชมพูนุช และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). แนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากการเผาในที่โล่งเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). รายงานสถานการณ์การปลูกอ้อยปีการผลิต 2565/2566. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.ocsb.go.th/2023/reports-articles/area-yield/21623/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.