การประเมินระบบประปาของเทศบาลตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • จิราวรรณ ชนะพันธ์ -
  • พรพรรณ สกุลคู
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง
  • กาญนิถา ครองธรรมชาติ

คำสำคัญ:

ระบบประปา คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำประปา และความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive studies) เพื่อประเมินระบบประปา คุณภาพน้ำผิวดิน และคุณภาพน้ำประปา การประเมินความพึงพอใจในการใช้น้ำประปา จำนวน 301 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำผิวดินทั้ง 3 แห่ง เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ประเภทที่ 3 ยกเว้นความเป็นกรดและด่าง (pH) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 2 แห่ง คือ ฝายโพนเหลี่ยมบ้านอ้น
หมู่ 13 และฝายหนองแสงบ้านอ้นหมู่ 6 ส่วนคุณภาพน้ำประปาต้นท่อและปลายท่อระบบเส้น มีสีปรากฎของน้ำปลายท่อระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านอ้นหมู่ 14 (ห้วยกุดแดง) เกินค่ามาตรฐาน อีกทั้งยังพบการปนเปื้อนของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Total Colifrom Bacteria) และอีโคไล (Escherichia Coli) ในน้ำต้นท่อและน้ำปลายท่อระบบเส้นของระบบประปาทั้ง 3 แห่ง ยกเว้นน้ำต้นท่อระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านอ้นหมู่ 13 (ฝายโพนเหลี่ยม) ซึ่งมีค่า >1.1 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการน้ำประปา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.40 มีอายุเฉลี่ย 55.16 ปี (S.D. 11.52) ระดับการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 48.50 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 71.43 ค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำประปาโดยเฉลี่ยรายเดือน 101-150 บาท และใช้น้ำประปามากที่สุดจากระบบประปาผิวดินขนาดใหญ่บ้านอ้นหมู่ 14 (ห้วยกุดแดง) ร้อยละ 38.21 ด้านคุณภาพ พบว่า คุณภาพความใสสะอาดของน้ำประปา คุณภาพกลิ่นคลอรีนของน้ำประปา คุณภาพสีของน้ำประปา คุณภาพรสชาติของน้ำประปา และคุณภาพความกระด้างของน้ำประปา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14, 2.86, 3.04, 3.07 และ 3.11 ตามลำดับ ด้านปริมาณของน้ำประปาพบว่า ปริมาณน้ำประปาเพียงพอต่อการใช้งานทั้งอุปโภคและบริโภค การไหลของน้ำประปาในแต่ละวัน และความแรงของน้ำประปา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.10, 3.08 และ 3.05 ตามลำดับ ด้านงานบริการพบว่า ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ความเหมาะสมของอัตราค่าน้ำประปา ให้บริการอย่างเท่าเทียม และให้คำแนะนำแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.38, 3.37, 3.40 และ 3.32 ตามลำดับ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปพัฒนาระบบประปาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำประปาดื่มได้ตามประกาศกรมอนามัย พ.ศ.2563 ลดความเสี่ยงของโรคที่มาจากสาเหตุของน้ำประปาไม่สะอาด และเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2565). คู่มือหลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dla.go.th/upload/template/tempNews/

/8/67512_1.pdf

กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). คู่มือหลักเกณฑ์และมาตรฐานคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน. ค้นเมื่อ 28 กันยายน 2566, จาก https://dwr.go.th/uploads/userfiles/files/mattatanprapa/1_mattatanprapa.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ประกาศกรมควบคุมโรคเรื่องการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ. 2565. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/

pdf.

กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุขกรมอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). เกณฑ์คุณภาพน้ำประปา กรมอนามัย พ.ศ. 2553. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก https://rldc.anamai.moph.go.th

จานนท์ ศรีเกตุ, พรนภา เตียสุทธิกุล, & เบญจภา ไกรทอง. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตำบลคลองน้ำใส อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวไลยองค์กรปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 93-108.

เชาว์ ตะสันเทียะ. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ตำบลธารปราสาทอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพเก้า หัตจุมพล. (2552). บทบาทของสวนสาธารณะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต: กรณีศึกษาสวนสาธารณะหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ภาคภูมิ เกิดมงคล. (2561). การปรับปรุงคุณภาพน้ำประปาของกจิการประปาเทศบาลตำบลหนองหัวฟาน อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วรินทร มะโนวร. (2556). การประเมินคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้าน ตำบลสาวะถี จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุพพัต เหมทานนท์. (2555). การบริหารจัดการน้ำประปาหมู่บ้านของตำบลละอาย อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิชชา วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 31(1), 55-66.

สมศักดิ์ ผลประเสริฐศรี. (2564). การวิเคราะห์คุณภาพน้ำของน้ำประปาในพื้นที่ผลกระทบจากโครงการประตูระบายน้ำ จังหวัดพิจิตร. วารสารธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 3(1), 21-37.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2563). การแก้ไขปัญหาระบบคุณภาพน้ำประปาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tm.mahidol.ac.th

สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). คู่มือผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปาระบบประปาบาดาล (แบบ 3 IN 1) รูปแบบกรมทรัพยากรน้ำ. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก file:///C:/Users/HP/Downloads/14.manual.pdf

สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2562). คู่มือผู้ควบคุมการผลิตน้ำประปาระบบประปาผิวดิน รูปแบบกรมทรัพยากรน้ำ. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก file:///C:/Users/HP/Downloads/17.manual%20(1).pdf

สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2563). คู่มือเลือกรูปแบบระบบประปาของกรมทรัพยากรน้ำ (ฉบับปรับปรุง กันยายน 2563). ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก https://www.tambondonsai.go.th

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2566, จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-24

How to Cite

ชนะพันธ์ จ., สกุลคู พ., อินทร์ม่วง อ., & ครองธรรมชาติ ก. (2025). การประเมินระบบประปาของเทศบาลตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(4), 24–34. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/272980