การกำจัดโลหะหนักในน้ำเสียอุตสาหกรรมฟอกย้อม ด้วยตะกอนดินจากกระบวนการผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยจากการผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน
คำสำคัญ:
เถ้าลอย ตะกอนดิน โลหะหนักบทคัดย่อ
ตะกอนดินจากกระบวนการผลิตน้ำประปาและเถ้าลอยจากการผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหินถูกใช้เป็นตัวดูดซับ ในการกำจัดโลหะหนักตะกั่ว เหล็ก และสังกะสี ในน้ำเสียสังเคราะห์จากอุตสาหกรรมฟอกย้อม ผลการทดลองพบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมในการดูดซับโลหะหนักด้วยเถ้าลอยและตะกอนดิน คือ pH 8 และ pH 7 ตามลำดับ ความเข้มข้นของสารละลายโลหะหนักตะกั่ว เหล็ก และสังกะสีที่เหมาะสมของเถ้าลอยและตะกอนดินคือความเข้มข้นที่ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนักตะกั่ว เหล็ก และสังกะสี พบว่าระยะเวลาสัมผัสที่เหมาะสมต่อการดูดซับโลหะหนักของเถ้าลอย คือ 90 นาที มีร้อยละ 99.50, 98.70 และ 99.70 ตามลำดับ และตะกอนดินร้อยละการกำจัดโลหะหนักทั้ง 3 ชนิดได้ดีระยะเวลาสัมผัสที่ 60 นาที มีร้อยละ 98.90, 95.90 และ 98.90 ตามลำดับ และปริมาณที่เหมาะสมของตะกอนดินและเถ้าลอยที่ใช้เป็นตัวดูดซับ คือ 20 กรัม
References
กมลรัตน์ เกลียงประดิษฐ์. (2563). การบำบัดน้ำเสียผ้าบาติกโดยกระบวนการดูดซับด้วยเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพรรณ เยาวยอด, คณิตา ตังคณานุรักษ์, นพวรรณ เสมวิมล, & ดร.ฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล. (2562). การประยุกต์ตะกอนดินจากกระบวนการผลิตน้าประปาเพื่อการกาจัดโลหะหนัก ในน้ำเสียอุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(1),
-64.
Freundlich, H. M. F. (1906). Over the adsorption in solution. The Journal of Physical Chemistry, 57, 385-470.
Langmuir, I. (1918). The adsorption of gases on plane surfaces of glass, mica and platinum. Journal of the American Chemical Society, 40, 1361-1403.
Sahinkaya, S. (2013). COD and color removal from synthetic textile wastewater by ultrasound assisted electro- Fenton oxidation process. Journal of Industrial and Engineering Chemistry, 19(2), 601-605.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.