ผลกระทบทางสุขภาพของผู้ที่ใช้ฟืนและแก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนบนพื้นที่สูง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
เชื้อเพลิงในครัวเรือนฟืน, แก๊สหุงต้ม, สมรรถภาพปอด, การประเมินผลกระทบทางสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของผู้ที่ใช้ฟืนและแก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนบนพื้นที่สูง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 18 – 59 ปี เป็นผู้ทำอาหารเป็นหลักในครัวเรือน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 141 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) ตามเกณฑ์การคัดเลือก แบ่งเป็นกลุ่มที่ใช้ฟืน 66 คน และกลุ่มที่ใช้แก๊สหุงต้ม 75 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและการตรวจวัดสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry) โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square และ Independent T-test ผลการวิจัย พบว่า สมรรถภาพปอดของกลุ่มที่ใช้ฟืนและใช้แก๊สหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.05) โดยกลุ่มที่ใช้ฟืนมีสมรรถภาพปอดผิดปกติมากกว่ากลุ่มที่ใช้แก๊สหุงต้ม ทั้งนี้ควรมีการจัดทำแผนหรือนโยบายเพื่อให้มีการจัดการระบบระบายอากาศในครัวเรือน และการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงหรือพลังงานสะอาดเพื่อสุขภาพของประชาชน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังการเกิดโรคจากการใช้เชื้อเพลิงในครัวเรือนต่อไป
References
กรนิภา ปุนณศิริ, เบญจวรรณ ธวัชสุภา, ณัฏฐกานต์ ฉัตรวิไล, & ทิพย์กมล ภูมิพันธ. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากคุณภาพอากาศในครัวเรือน ในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบท กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566, จาก https://hia.anamai.moph.go.th/th/research/download/?did=209530&id=91831&reload=
ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร. (2565). ควันจากการเผาชีวมวลอาจอันตรายกว่าที่คิด. วารสารสิ่งแวดล้อม, 26(2). 1-5.
ศิริอร สินธุ, อุมาภรณ์ กําลังดี, & รวมพร คงกำเนิด. (2554). ผลของการสัมผัสควันต่อสมรรถภาพปอดของประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่อาศัยในชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 93-106.
ศูนย์ข้อมูลด้านสุขภาพ. (2566). โรคระบบทางเดินหายใจจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2566, จาก https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=c6c2a669b1062f4281b4b1c15eedfe07
สมเกียรติ วงษ์ทิม. (2530). กลไกการป้องกันของปอด [ฉบับออนไลน์]. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 31(7), 573-582.
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). แนวทางการตรวจสมรรถภาพปอด 1. สไปโรเมตรีย์. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566, จาก https://thaichest.files.wordpress.com/2019/08/guidelinepft.pdf
องค์กรอนามัยโลก ประเทศไทย. (2562). มลพิษทางอากาศภายในครัวเรือน. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://cdn.who.int/media/docs/default-source/thailand/environmental-health-thailand/household-air-pollution.pdf?sfvrsn=d099c57d_7
อภิสรา แซ่ลี, กิตติทัช คุณยศยิ่ง, ภัทร์นิธิ กาใจ, ยุพารัตน์ บัวหอม, ยุทธการ เทพจันตา, ธีรินทร์ แสนคำ, และคณะ. (2562). การรวบรวมภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งชุมชนช่างเคี่ยน ตำบลช้างเผือก อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566, จาก https://sac-research.sac.or.th/research-item-search.php?ob_id=227
Bede-Ojimadu, O., & Orisakwe, O. E. (2020). Exposure to wood smoke and associated health effects in Sub-Saharan Africa: A systematic review. Annals of Global Health, 86(1), 32.
Kizhakke Puliyakote, A. S., Stapleton, E. M., Durairaj, K., Karuppusamy, K., Kathiresan, G. B., Shanmugam, K., et al. (2023). Imaging-based assessment of lung function in a population cooking indoors with biomass fuel: a pilot study. Journal of Applied Physiology, 134(3), 710-721.
Pallegedara, A., & Kumara, A. S. (2022). Impacts of firewood burning for cooking on respiratory health and healthcare utilisation: Empirical evidence from Sri Lankan micro-data. The International Journal of Health Planning and Management, 37(1), 465-485.
Rajinikanth, S. K., Chitra, M., Kannan, N., Baskaran, V., & Krishnan, M. (2021). A comparative analysis of biomass and clean fuel exposure on pulmonary function during cooking among rural women in Tamilnadu, India. Bioinformation, 17(5), 593-598.
Stapleton, E. M., Kizhakke Puliyakote, A., Metwali, N., Jeronimo, M., Thornell, I. M., Manges, R. B., et al. (2020). Lung function of primary cooks using LPG or biomass and the effect of particulate matter on airway epithelial barrier integrity. Environmental Research, 189, e109888.
World Health Organization [WHO]. (2019). Household air pollution attributable deaths. Retrieved June 20, 2023, from https://www.who.int/data/gho/data/indicators/indicator-details/GHO/household-air-pollution-attributable-deaths
World Health Organization [WHO]. (2023). Household air pollution. Retrieved June 23, 2023, from https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/household-air-pollution-and-health
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.