ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการวินิจฉัย โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย โพตะพัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิทยาการระบาด
  • สุพจน์ คำสะอาด สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • รุจิรา พนาวัฒนกุล โรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

Breast cancer, Survival

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) พบมากและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของสตรีทั่วโลก และประเทศไทย รวมทั้งมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมในจังหวัดอุดรธานีเพิ่มขึ้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่หลากหลายมากขึ้นและการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการรอดชีพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมยังมีน้อย และโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกฉียงเหนือซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัย และเปรียบเทียบอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการวินิจฉัย โรงพยาบาลอุดรธานี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Retrospective cohort study ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลอุดรธานี ที่ได้รับการวินิจฉัยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และติดตามสถานะสุดท้ายถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 1,263 คน วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95% เปรียบเทียบอัตรารอดชีพ จำแนกตามลักษณะต่างๆ โดยใช้สถิติทดสอบ Log-rank test และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพ โดย Cox regression นำเสนอค่า Adjusted HR พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จำนวน 1,263 คน เสียชีวิต 368 คน คิดเป็นอัตราการตาย 8.18 ต่อ 100 คน-ปี (95% CI: 7.38-9.06) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี หลังการวินิจฉัย คือ ร้อยละ 88.99 (95% CI: 87.13-90.59), ร้อยละ 74.17 (95% CI: 71.64-76.51) และร้อยละ 68.27 (95% CI: 65.34-71.01) ตามลำดับ เมื่อควบคุมผลกระทบจากตัวแปรที่เหลือในสมการสุดท้ายแล้ว พบว่า อายุ ระยะของโรคมะเร็ง และชนิดของการผ่าตัด มีผลต่อการรอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการวินิจฉัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) กล่าวคือ เมื่อใช้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ <40 ปี เป็นกลุ่มอ้างอิงแล้ว โอกาสที่กลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 40-59 ปี และอายุ ≥60 ปี
มีโอกาสเสี่ยงต่อการตายเป็น 0.6 เท่า (Adjusted HR=0.6; 95% CI: 0.46-0.88) และ 0.5 เท่า (Adjusted HR=0.5; 95% CI: 0.39-0.78) ตามลำดับ เมื่อใช้กลุ่มผู้ป่วยที่มีระยะของโรคมะเร็งในระยะที่ 1 เป็นกลุ่มอ้างอิงแล้ว โอกาสที่กลุ่มผู้ป่วยที่มีระยะของโรคมะเร็งในระยะที่ 2, ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 มีโอกาสเสี่ยงต่อการตายเป็น 2.3 เท่า (Adjusted HR=2.3; 95% CI: 1.12-4.94), 8.1 เท่า (Adjusted HR=8.15; 95% CI: 3.98-16.67) และ 28.4 เท่า (Adjusted HR=28.48; 95% CI:13.81-58.75) ตามลำดับ และเมื่อใช้กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดแบบ Breast-conserving therapy เป็นกลุ่มอ้างอิงแล้ว โอกาสที่กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดแบบ modified radical mastectomy มีโอกาสเสี่ยงต่อการตายเป็น 1.0 เท่า (Adjusted HR=1.01; 95%CI: 1.01-1.02)

สรุปและข้อเสนอแนะ: พบว่า อายุ ระยะของโรคมะเร็งและชนิดของการผ่าตัด มีผลต่อการรอดชีพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลอุดรธานี อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ดังนั้น แพทย์ที่ทำการรักษาควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มโอกาสการอยู่รอดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมให้ยาวนานยิ่งขึ้น

References

นันทวรรณ พลสุวรรณ, & ศศิธร สุจริตธนะการ. (2562). อุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านม: กรณีศึกษาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 4(2), 13–19.

ภรณี เหล่าอิทธิ, & นภา ปริญญานิติกุล. (2559). มะเร็งเต้านม: ระบาดวิทยา การป้องกัน และแนวทางการคัดกรอง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 60(5), 497-507.

ภิรดา อาจวิชัย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรอดชีพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รังษีนพดล โถทอง. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมในหญิงไทยที่อายุน้อยกว่า 45 ปี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี, (2561), รายงานอุบัติการณ์โรคมะเร็ง ประชากรของจังหวัดอุดรธานี 2559-2561. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566, จาก https://udch.go.th/uploads/doc/Hosbased/POP59-61.pdf

วราภรณ์ ภูธิวุฒิ, & อิสระ เจียวิริยบุญญา. (2562). อัตราการรอดชีพผู้ป่วยมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก ที่เข้ารับการรักษาปี 2553 ในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารกรมการแพทย์, 44(1), 81-86.

อภิชาต ก้องเสียง. (2557). การรอดชีพและโมเลกุลซับไทป์ กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมหลังจากได้รับการรักษาด้วย

รังสีวิทยา ที่หน่วยรังสีรักษา โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Chitapanarux, I., Sripan, P., Somwangprasert, A., Charoentum, C., Onchan, W., Watcharachan, K., et al. (2019). Stage-Specific Survival Rate of Breast Cancer Patients in Northern Thailand in Accordance with Two Different Staging Systems. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 20(9), 2699-2706.

Global Cancer Observatory [GCO]. (2020). Cancer today data visualization tools for exploring the global cancer burden in 2020. Retrieved July, 2, 2023, from https://gco.iarc.fr/today.

Ji, J., Yuan, S., He, J., Liu, H., Yang, L., & He, X. (2022). Breast-conserving therapy is associated with better survival than mastectomy in Early-stage breast cancer: A propensity score analysis. Cancer Medicine, 11(7), 1646-1658.

Poum, A., Kamsa-ard, S., & Promthet, S. (2012). Survival rates of breast cancer: A hospital-based study from northeast of Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 13(3), 791-794.

Rojanamatin, J., Ukranun, W., Supaattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Wongsena, M., Chaiwerawattana, A., et al. (2021). Cancer in Thailand Vol.X, 2016-2018. Bangkok: Bangkok Medical Publisher.

Sinnadurai, S., Kwong, A., Hartman, M., Tan, E.Y., Bhoo-Pathy, N. T., Dahlui, M., et al. (2018). Breast-conserving surgery versus mastectomy in young women with breast cancer in Asian settings. BJS Open, 3(1), 48-55.

Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D.2021. Nonthaburi: Health Information Unit, Strategy and Planning Division.

Ugai, T., Sasamoto, N., Lee, H. Y., Ando, M., Song, M., Tamimi, R. M., et al. (2022). Is early-onset cancer an emerging global epidemic?: Current evidence and future implications. Nature Reviews, Clinical Oncology, 19(10), 656-673.

Wang, S., Sun, Y., Zhao, S., Wei, F., Yang, G., Wang, S., et al. (2020). Breast conserving surgery (BCS) with adjuvant radiation therapy showed improved prognosis compared with mastectomy for early staged triple negative breast cancer patients. Mathematical Biosciences and Engineering, 17(1), 92-104.

Zhao, J., Xu, L., Sun, J., Song, M., Wang, L., Yuan, S., et al. (2023). Global trends in incidence, death, burden and risk factors of early-onset cancer from 1990 to 2019. BMJ Oncology, 2(1), e000049.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17