การวิเคราะห์เชิงพื้นที่และอุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดหนองคาย
บทคัดย่อ
ปัจจุบันอุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดหนองคาย ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยเชิงพื้นที่ยังคงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญกับการเกิดโรค การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงพื้นที่และศึกษาอุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดหนองคาย เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงวิเคราะห์ ศึกษาจากผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนา ในจังหวัดหนองคายและรักษาในโรงพยาบาลหนองคาย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 929 คน ปัจจัยที่ศึกษา คือ ข้อมูลส่วนบุคล ภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับอุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดย Moran’s I และ Local indicators of spatial association (LISA) และวิเคราะห์อุบัติการณ์ นำเสนอช่วงเชื่อมั่น 95% โดยผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จังหวัดหนองคาย 22.2 ต่อประชากรแสนคนต่อปี (95%CI= 20.73–23.61) การวิเคราะห์ Moran’s I พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในทิศทางเดียวกันแบบเกาะกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย อุณหภูมิเฉลี่ย ความหนาแน่นของประชากร และจำนวนการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ การวิเคราะห์ LISA จาก
62 ตำบล พบกลุ่มตำบลที่มีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับการเกิดโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ได้แก่ตัวแปรปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย จำนวน 5 ตำบล ตัวแปรอุณหภูมิเฉลี่ย จำนวน 6 ตำบล ตัวแปรความสูงจากระดับน้ำทะเล จำนวน 6 ตำบล ตัวแปรความหนานแน่นของประชากร จำนวน 6 ตำบลและตัวแปรจำนวนการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 5 ตำบล โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้พบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย อุณหภูมิเฉลี่ย ความหนาแน่นของประชากร และจำนวนการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่กับการเกิดโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี แบบเกาะกลุ่ม หรือการเกิดโรคในทิศทางเดียวกันและยังพบว่าอัตราอุบัติการณ์มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีสูง พบในเขตพื้นที่ชนบทมากกว่าเขตพื้นที่เมือง
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). International statistical classification of diseases and related health problems (ICD-10-TM). ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2566, จาก https://www.phoubon.in.th/ download/icd10tmSim.pdf
จินตนา อมรสงวนสิน. (2554). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับงานวิจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชุติมา วัชรกุล, กังสดาล สุวรรณรงค์, รัตนาภรณ์ ยศศรี, & สุมาลี จันทรลักษณ์. (2565). ผลการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้ เรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามมาตรการการส่งเสริมการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ระดับประถมศึกษา เขตสุขภาพที่ 7. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 29(1),80-94.
หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์. (2563). Hospital-Based Cancer Registry Srinagarindra Hospital, Khon Kaen University Statistical Report 2020. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก https://kkcr.kku.ac.th/images/report-year/ Hospital based annual-report2020.pdf
เบญจมาศ เดชศิริ. (2560). การคาดการณ์การลักลอบลำเลียงยาเสพติดด้วยสถิติภูมิศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประกาศิต เสงี่ยมวิบูล, & สุพินดา คูณมี. (2564). พยาธิวิทยาของมะเร็งท่อน้ำดี. ใน ณรงค์ ขันตีแก้ว. (บรรณาธิการ). โรคมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย. (หน้า 117-131). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ปรางทิพย์ บัวเฟื่อง. (2557). การประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมศาสตร์ (GIS) ในการศึกษาการกระจายการระบาดของโรคไข้ เลือดออก (DHF) ในพื้นที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการจัดการสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชญา นิมิตกุล. (2555). การศึกษาแบบจำลองการกระจายตัวของประชากรจากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยวิธีการสถิติเชิงพื้นที่: กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระวิศักดิ์ จันทร์วาสน์, สุพัตรา รักเอียด, วิษณุ ปานจันทร์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, & วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2559). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษา โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ: โฆสิตการพิมพ์.
รัชนีพร จันทร์สา. (2560). แบบจำลองวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่เพื่อพยากรณ์ผลการเลือกตั้งไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ. (2561). มะเร็งตับและท่อน้ำดี. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. (2566). รายงานสถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลหนองคาย 2560–2561. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2566, จาก https://udch.go.th/index.php/21-2021-03-23-07-21- 32/101-2021-03-23-09-38-19
วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์, ณรงค์ ขันตีแก้ว, ศิริ เชื้ออินทร์, เอก ปักเข็ม, ชุติมา ลับนิล, & โสพิศ วงศ์คำ. (2555). มะเร็งท่อน้ำดี: ประสบการณ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27, 331-339.
วรวิทย์ ศุภวิมุติ. (2022). Geography and Geoinformatics. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2566, จาก https://geo.cmru.ac.th/?p=1511
ณมน วัฒกิจ, เสาวลักษณ์ อดุลพัชราภรณ์, & อวันวี เพชรคงแก้ว. (2015). การสลายอะฟลาท็อกชินบี 1 โดยจุสินทรีย์. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22, 1-11.
ณรงค์ ขันตีแก้ว. (2564). มะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ศิริพร คำสะอาด, สุพจน์ คำสะอาด, & วัชรพงษ์ พุทธิสวัสดิ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการกินปลาร้าดิบกับการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ชนิดภายนอกตับ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2, 9-18.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. (2566). รายงานประจำปี2565 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. ค้นเมื่อ 13 กันยายน 2566, จาก https://wwwnko2.moph.go.th/ plan/index.php?plan=w5-yearreport
สมบัติ อยู่เมือง. (2558). ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. ค้นเมื่อ 27 กันยายน 2566, จาก http://www.gisthai.org/index.html
สรญา แก้วพิทูลย์, & ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. (2557). การวิเคราะห์ พื้นที่เสี่ยงสำหรับป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ ในจังหวัดสุรินทร์ โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. นครราชสีมา: สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
เอกภพ แสงอริยวนิช, ศุภกร พิทักษ์การกุล, & รังสิยา บัวส้ม. (2564). ทะเบียนมะเร็ง ระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.].
Amin, M.B., Greene, F.L., Edge, S.B., Compton, C.C., Gershenwald, J.E., Brookland, R.K., et al. (2017). The Eighth Edition AJCC Cancer Staging Manual: Continuing to build a bridge from a population-based to a more personalized approach to cancer staging. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 67(2), 93-9.
Bray, F., Ferlay, J., Soerjomataram, I., Rebecca, L., Siegel, T.L.A., & Jemal, A. (2018). Global Cancer Statistics 2018: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 68, 394-424.
Chaiterakit, R. (2018). Liver and bile duct cancer. Bangkok: Text and Journal Publication.
Charlton, M., & Fortheringham, A.S. (2009). Geographically Weighted Regression. Ireland: National University of Ireland Maynooth.
Elkins, T., Zinn, K., McAllister, L., Hoffmann, F.M., & Goodman, C.S. (1990). Genetic analysis of a Drosophila neural cell adhesion molecule: interaction of fasciclin I and Abelson tyrosine kinase mutations. Cell, 60(4), 565-575.
Fongchan, S., Vorapongsathorn, S., Bhavaudananda, P., & Chooratna, K. (2019). Liver cancer prevention and control. Thai Cancer Journal, 39(2), 64-74.
Globocan. (2020). Thai source: Globocan 2020. Retrieved September 15, 2020, from https://gco.iarc.fr/today
Green, A., Uttaravichien, T., Bhudhisawasdi, V., Chartbanchachai, W., Elkins, D.B., Marieng, E.O., et al. (1991) Cholangiocarcinoma in northeast Thailand. A hospital-based study. Tropical and Geographical Medicine, 43, 193-198.
IARC. (1994). Schistosomes, liver flukes and Helicobacter pylori. IARC working group on the evaluation of carcinogenic risks to Lyon, 7-14 June 1994. IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. 61, 1-241.
Jeefoo, P. (2012). Spatial patterns analysis and hotspots of HIV/AIDS in Phayao province, Thailand. Archives Des Sciences, 65(9), 37-50.
Jensen, O. M., Parkin, D. M., MacLennan, C. S., & Skeet, R. (1991). Cancer Registration: Principles and Methods (IARC Scientific Publications). United Kingdom: [n.p.].
Jing, Q., Haiyun, L., Jian X., Jianjun, X., Maobo, W., & Fuzhong, X. (2020). Analysis of Spatial Epidemic Characteristics of Liver Cancer in Small Geographical Area. Journal of Cancer Treatment and Research, 8(1), 10-17.
Imsamran, W. C. A., Wiangnon, S., Pongnikorn, D., Suwanrungrung, K., Sangrajang, S., & Buasom, R. (2015). Cancer in Thailand. Bangkok: New Thammada Press.
Kaewpitoon, S. J., Rujirakul, R., Loyd, R. A., Matrakool, L., Sangkudloa, A., Kaewthani, S., et al. (2016). Spatial distribution of the population at risk of cholangiocarcinoma in Chum Phaung District, Nakhon Ratchasima Province of Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 17(2), 719-722.
Kurathong, S., Lerdverasirikul, P., Wongpaitoon, V., Pramoolsinsap, C., Kanjanapitak, A., & Varavithya, W. (1985). Opisthorchis viverrine infection and cholangiocarcinoma. A prospective, case-controlled study. Gastroterology, 89(1), 151-156.
Lee, D. H., Lee, J. M., Lee, J. Y., Kim, S. H., Yoon, J. H., Kim, J. K., et al. (2014). Radiofrequency ablation of hepatocellular carcinoma as first-line treatment: Long-term results and prognostic factors in 162 patients with cirrhosis. Radiology, 270(3), 900-909.
Lyseen, A. K., Nohr, C., Sorensen, E. M., Gudes, O., Geraghty, E. M., Shaw, N. T., et al, (2014). A Review and Framework for Categorizing Current Research and Development in Health-Related Geographical Information Systems (GIS) Studies. Yearbook of Medical Informatics, 9(1), 110-124.
Mansoori, A. A., & Jain, S. K. (2015). Molecular links between alcohol and tobacco induced DNA damage, gene polymorphisms and patho-physiological consequences: A systematic review of hepatic carcinogenesis. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 16(12), 4803-4812.
Musa, G. J., Chiang, P. H., Sylk, T., Bavley, R., Keating, W., Lakew, B., et al (2013). Use of GIS Mapping as a Public Health Tool-From Cholera to Cancer. Health Services Insights, 6, 111-116.
Pfeiffer, D. U. (1996). Issues related to handling of spatial data. J. McKenzie (ed) Proceeding of the epidemiology and state veterinary programmes, 1996, 83-105.
Pumidonming, W., Katahira, H., Igarashi, M., Salman, D., Abdelbaset, A. E., & Sangkaeo, K. (2018). Potential risk of a liver fluke Opisthorchis viverrine infection brought by immigrants from prevalent areas: A case study in the lower Northern Thailand. Acta tropica, 178, 213-218.
Ratna, A., & Mandrekar, P. (2017). Alcohol and cancer: Mechanisms and therapies. Biomolecules, 7(3), 61.
Rojanamatin, J., Ukranun, W., Supaattagorn, P., Chiawriyabunya, I., Wongsena, M., Chaiwerawttana, A., et al. (2010). Cancer in Thailand Vol. X, 2016-2018. Bangkok: National Cancer Institute.
Sangditม B. (2015). Hepatocellula carcinoma prevention and control measures in Thailand. Royal Thai Army Medical Journal, 68(4), 193-201.
Shiode, N., Shiode, S., Rod-Thatcher, E., Rana, S., & Vinten-Johansen, P. (2015). The Mortality Rates and the Space-Time Patterns of John Snow's Cholera Epidemic Map. International Journal of Health Geographics, 14, 21.
Sithithaworn, P., Andrews, R. H., & Nguyen, V. D. (2012). The current status of opisthorchiasis and clonorchiasis in the Mekong Basin. Parasitology International, 61, 10-16.
Sripa, B., Bethony, J. M., Sithithaworn, P., Kaewkes, S., Mairiang, E., Loukas, A., et al. (2011). Opisthorchiasis and opisthorchis-associated cholangiocarcinoma in Thailand and Laos. Acta Tropica, 120(Suppl 1), S158-S168.
Sung, H., Jacques, F., Rebecca, L. S., Mathieu, L., Isabelle, S., Ahmedin, J., et al. (2021). Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 71(3), 209-249.
Thaewnongiew, K., Singthong, S., Kutchamart, S., Tangsawad, S., Promthet, S., Sailugkum, S., et al. (2014). Prevalence and Risk Factors for Opisthorchis Viverrini Infections in Upper Northeast Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 15(16), 6609-6612.
Thai Association for the Study of the Liver. (2019). Thailand guideline for management of hepatocellular carcinoma. Nontaburi: Parbpim Limited Partnership.
Thinkhamrop, A. S., Thinkhamrop, K., Clements, A. C. A., Kelly, M., Suwannatrai, K., Thinkhamrop, B., et al. (2019). Bayesian spatial analysis of cholangiocarcinoma in Northeast Thailand. Scientific Reports, 9, 1-10.
Uttaravichien, T., Bhudhisawasdi, V., Pairojkul, C., & Pugkhem, A. (1999) Intrahepatic cholangiocarcinoma in Thailand. Journal of Hepato-Biliary-Pancreatic Sciences, 6, 128-35.
Vojkan, G., & Bojana, T. (2013). Spatial and temporal analysis of Fires in Serbia for period 2000-2013. Journal of the Geographical Institute Jovan Cvijic SASA, 63(3), 297-312.
Watanapa, P. (1996). Cholangiocarcinoma in patients with opisthorchiasis. British Journal of Surgery, 83(8), 1062-1064.
Wenxiang, P., Yue, C., Qingwu, J., & Yingjie, Z. (2010). Spatial analysis of hepatocellular carcinoma and socioeconomic status in China from a Population-based Cancer Registry. Cancer Epidemiology, 34, 29-33.
Wei, D., Long, L., Xian-Yan, T., Tian-Ren, H., Ji-Lin, L., MinHua, R., et al. (2015). Anisotropic Patterns of Liver Cancer Prevalence in Guangxi in Southwest China: Is Local Climate a Contributing Factor? Asian Pacific Journal of Cancer Prevention, 16(8), 3579-3586.
Yi-Chen, W., Chen-Chieh, F., & Sithithaworn, P. (2013). Environmental determinants of Opisthorchis viverrini prevalence in northeast Thailand. Geospatial Health, 8, 111-123.
Yongmanitchai, C. (2014). Handle hepatocellular carcinoma and keep it under control. Bangkok: Inspire Printing.
Zhang, L., Fletcher, A. G. L., Cheung, V., Winston, F., & Stargell, L. A. (2008). Spn1 regulates the recruitment of Spt6 and the Swi/Snf complex during transcriptional activation by RNA polymerase II. Molecular and Cellular Biology, 28(4), 1393-1403.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.