ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บทคัดย่อ
ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานและประสิทธิภาพของงาน การค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อความเครียดจากการทำงานจึงเป็นกระบวนการสำคัญ การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บข้อมูลในเดือนเมษายน 2565 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 257 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้านข้อมูลลักษณะงานและความเครียดจากการทำงานโดยใช้การประเมินความรู้สึกจากภาระงานทางจิตใจ และตรวจวัดความเข้มแสงแบบเฉพาะจุดที่ทำงานและใช้สายตาเป็นหลัก วิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงโดยใช้สถิติความสัมพันธ์แบบตัวแปรเชิงพหุถดถอย แสดงค่า Adjust OR (ORadj) ค่าช่วงความเชื่อมั่น 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญ p-value <0.05 ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.00) อายุระหว่าง 30-39 ปี (ร้อยละ 38.91) มีความเครียดจากการทำงานสูง ร้อยละ 59.53 ปัจจัยด้านลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่
มีหน้าที่หลักตรวจสอบชิ้นงาน/ประกอบชิ้นงาน (ORadj=1.98; 95% CI: 1.66-5.49) การใช้สายตาเพ่งในการปฏิบัติงาน (ORadj=1.66; 95%CI:1.02-2.69) ความเข้มแสงสว่างไม่ผ่านมาตรฐาน (ORadj=1.88; 95% CI: 1.08-3.25) ดังนั้นในการประกอบและการตรวจสอบชิ้นงานขนาดเล็กซึ่งต้องใช้สายตาเพ่งชิ้นงานนี้ซึ่งพบว่า ปริมาณความเข้มของแสงที่ต่ำกว่ามาตรฐานเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระดับความเครียดในการทำงานของพนักงาน จึงเสนอแนะให้การปรับปรุงแสงสว่างการทำงานตามมาตรฐานกำหนดเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการปรับปรุงของหน่วยที่ทำงานของพนักงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สายตาเพ่ง
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2560). ประกาศสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มแสงสว่าง ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2567 จาก https://osh.labour.go.th/index.php?option=com_content& view=article&id=1264%3Aupdate-&catid=1%3Anews-thai&Itemid=201
จุฑารัตน์ ทางธรรม. (2558). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. การศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปิยธิดา สุทธิบาก, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานและระดับความรุนแรงของการปวดคอ ไหล่ ของพนักงานอุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 16(1), 139-150.
โรจกร ลือมงคล, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทํางานของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(6), 516-523.
วชิระ เพ็ชรราม, & กลางเดือน โพชนา. (2559). ความเครียดของพนักงานและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงานกรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 18(1), 10-20.
วิวัฒน์ สังฆะบุตร, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2554). ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในแรงงานนอกระบบกลุ่มดัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก: การศึกษานำร่อง. ศรีนครินทร์เวชสาร, 26(3), 225-232.
สุขสรร ศิริสุริยะสุนทร, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2558). ความเสี่ยงทางการยศาสตร์และการปวดคอ ไหล่ หลัง ในเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(3), 54-63.
สุขสรร ศิริสุริยสุนทร, & สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2559). ความเครียดและความชุกการปวดคอ ไหล่ หลังในเจ้าหน้าที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม, 25(2), 35-42
สุนิสา ชายเกลี้ยง. (2566). การยศาสตร์อาชีวอนามัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2564). สถิติอุตสาหกรรม. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://www.diw.go.th/webdiw/ static-fac/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567, จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/ความสุข/2563/190864_11.pdf
Chaiklieng, S., & Suggaravetsiri, P. (2020). Low Back Pain (LBP) Incidence, Ergonomics Risk and Workers’ Characteristics in Relations to LBP in Electronics Assembly Manufacturing. Indian Journal of Occupational & Environmental Medicine, 24(3), 183-187.
Chaiklieng, S., Suggaravetsiri, P., Sungkhabut, W., & Stewart J. (2020). Prevalence and risk factors associated with upper limb disorders and low back pain among informal workers of hand-operated rebar benders. Advances in Intelligent Systems and Computing, 611-618.
Cooper, C. L., & Cartwright, S. (1997). Managing workplace stress. California: Sage Publication.
Herzberg, F., Bernard, M., & Snyderman, B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey.
Hsieh, F. Y., Bloch, D. A., & Larsen, M. D. (1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in Medicine, 17, 1623-1634.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.