คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลเศรษฐาธิราชในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • Nopparat Senahad -

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลเศรษฐาธิราช ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประชากรที่ศึกษา จำนวน 557 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ ซึ่งมีขนาดตัวอย่างจำนวน128 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน12 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน พบว่า จากข้อคำถามทั้งหมด 59 ข้อ โดยข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 จำนวน 53 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 89.83 และข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67 จำนวน 6 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 10.17 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร และระดับการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 (S.D.=0.56), 3.79 (S.D.=0.58) ตามลำดับ และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง2 ตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยีและด้านงบประมาณสามารถร่วมกันในการพยากรณ์และมีผลต่อการบริหารพัสดุของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเศรษฐาธิราชในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร้อยละ 55.4 (R2=0.554, p-value<0.001) ดังนั้นผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและงบประมาณที่เพียงพอต่อการบริหารพัสดุเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

References

กระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2564). มาตรการ 5 ดี 1 พอใจ สำหรับสถานบริการด้านสาธารณสุข. เวียงจันทร์: กระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.

กาญจนา พิทักษ์วาณิชย์, & ประจักร บัวผัน. (2559). บรรยากาศองค์การและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรโรงพยาบาลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 16(1), 90-103.

จักรกฤษณ์ อาสาสะนา, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, & ธนมณฑชนก พรหมพินิจ. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของทีมหมอครอบครัวในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 184-187.

เจริญรัตน์ บุญที, ประจักร บัวผัน, & นพรัตน์ เสนาฮาด. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 159-171.

ชมพูนุท พัฒนจักร. (2566). สถานการณ์และปัญหาการปฏิบัติงานของการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล: กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. เภสัชกรรมคลินิก, 29(1), 39-49.

ชาญณรงค์ นัยเนตร, & ประจักร บัวผัน. (2566). ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 211-223.

ณัฏฐชัย แก้วเจริญสีทอง. (2563). ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานพัสดุและแนวทางพัฒนางานพัสดุของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, 3(2), 76-93.

นิกร บาลี, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2562). ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 12(3), 586-594.

ปรัตถกร วงศ์กาฬสินธุ์, & ประจักร บัวผัน. (2559). แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อ การบริหารเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 17(2), 37-48.

ประจักร บัวผัน (2558). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4 ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พาฝัน เหล่าน้อย, นครินทร์ ประสิทธิ์, นพรัตน์ เสนาฮาด, & สุรชัย พิมหา. (2566). ปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทางทันตกรรมในสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่10. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(2), 172 – 183.

ไพวัน แกวประเสิด, ประจักร บัวผัน, & สุรชัย พิมหา. (2563). คุณลกัษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐเขตนครหลวงเวียงจันทน์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(2), 96-107.

ภูมิฤทัย จุรัณณะ, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2563). ปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานตามพันธกิจที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดของนักวิชาการสาธารณสุข(ทันตสาธารณสุข) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 20(3), 158-166.

โรงพยาบาลเศรษฐาธิราชสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2022 โรงพยาบาลเศรษฐาธิราช. เวียงจันทร์: โรงพยาบาลเศรษฐาธิราช.

โรงพยาบาลเศรษฐาธิราชสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. (2566). รายงานบุคลากรโรงพยาบาลเศรษฐาธิราช ประจำปี 2023. เวียงจันทร์: โรงพยาบาลเศรษฐาธิราช.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2554). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ - Management (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดยูเคชั่น

อินโดไชน่า.

ศรัณยา พันธุ์โยธา, & ประจักร บัวผัน. (2564). ปัจจัยทางการบริหารและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(2), 152-165.

ศุภลักษณ์ คุ้มวงศ์, & สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารมีผลต่อการดำเนินงานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 19-30.

สุทธิยา เบ้าวัน, & ประจักร บัวผัน. (2564). การสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นพื้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 22(2), 237-248.

สุพัตรา ถิ่นไผ่บูรณ์, ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง, & ชนะพล ศรีฤาชา. (2564). บรรยากาศองค์การและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์, วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(1), 431-440.

สุวิชัย ถามูลเลศ, & ประจักร บัวผัน. (2561). ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 25(1), 23-34.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. (1990). Fundamentals of Social Statistics (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill.

Schermerhorn, J. R., Osborn, R. N., Uhl-Bien, M., & Hunt, J. G. (2011). Organizational behavior (12th ed.). New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-17