ผลของการนวดเต้านมเพื่อการรักษาต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด: การทดลองสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม

การนวดเต้านมเพื่อการรักษา

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร สุ่มมาตย์ -

บทคัดย่อ

การนวดเต้านมเพื่อการรักษาเป็นหนึ่งในการแพทย์แผนไทยเพื่อช่วยในการกระตุ้นน้ำนมมารดาหลังคลอด การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดเต้านมต่อปริมาณน้ำนมของมารดาในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือมารดาหลังคลอดจำนวน 80 คน ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการนวดกระตุ้นเต้านมโดยแพทย์แผนไทย เป็นเวลา 30 นาที ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด กลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลและสุขศึกษาสำหรับหญิงหลังคลอดตามปกติ ผลลัพธ์หลักคือ ปริมาณน้ำนมในแต่ละครั้งของการให้นมวัดโดย test weight method ในวันที่ 2 หลังคลอด ผลลัพธ์รองคือ breast milk score จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของทารก และอาการไม่พึงประสงค์จากการนวดเต้านม เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณน้ำนมระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำนมในวันที่ 2 หลังคลอดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.052) (mean difference=13.37; 95% CI:
-0.15 to 26.68; p-value=0.052) ในทำนองเดียวกัน breast milk score ในวันที่ 2 และ 3 และจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของทารกทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference=0.25; 95% CI: -0.63 to 0.13; p-value =0.198, 0.15; 95% CI: -0.51 to 0.21; p-value =0.413 และ -0.57; 95% CI: -0.73 to 1.88; p-value =0.384, 0.47; 95% CI: -1.76 to 0.81; p-value=0.465 ตามลำดับ) ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการนวดเต้านมในกลุ่มทดลอง สรุปผลการศึกษาหญิงหลังคลอดการนวดเต้านมครั้งเดียวในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอดไม่มีประสิทธิผลต่อปริมาณน้ำนมเมื่อเปรียบเทียบกับหญิงหลังคลอดที่ไม่ได้รับการนวดเต้านม ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาจำนวนครั้งของการนวดเต้านม ที่มีประสิทธิผลต่อการส่งเสริมปริมาณการไหลของน้ำนมหญิงหลังคลอดและทำได้สะดวกในทางปฏิบัติ

References

Butte, N. F., Wong, W. W., Patterson, B. W., Garza, C., & Klein, P. D. (1988). Human-milk intake measured by administration of deuterium oxide to the mother: a comparison with the test-weighing technique. American Journal of Clinical Nutrition, 47(5), 815-821.

Dehghani, M., Babazadeh, R., Khadivzadeh, T., Pourhoseini, S. A., & Esmaeili, H. (2018). Effect of breast Oketani-massage on neonatal weight gain: A Randomized controlled clinical trial. Evidence Based Care, 8(3), 57-63.

Development of Applied Thai Traditional Medical Education, A. C. (2005). Thai traditional massage (Royal court massage). Bangkok: Phikanet Printing Center

Haase, B., Barreira, J., Murphy, P. K., Mueller, M., & Rhodes, J. (2009). The development of an accurate test weighing technique for preterm and high-risk hospitalized infants. Breastfeed Medicine, 4(3), 151-156.

Raju, L., Thomas, S., & Rao, D. (2018). Effectiveness of breast massage on lactation among immediate postnatal mothers: A randomized controlled trial. RGUHS Journal of Nursing Sciences, 8(1), 12-17.

Munsittikul, N., Tantaobharse, S., Siripattanapipong, P., Wutthigate, P., Ngerncham, S., & Yangthara, B. (2022). Integrated breast massage versus traditional breast massage for treatment of plugged milk duct in lactating women: A randomized controlled trial. International Breastfeeding Journal, 17(1), 43.

Ngamjarus, C. (2016). n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Medical Journal, 68(3), 160-170.

World Health Organization. (2018). Guideline: counselling of women to improve breastfeeding practices. Geneva: WHO.

Centers for Disease Control and Prevention. (2022). How much and how often to breastfeed. Retrieved January 3, 2022, from https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/breastfeeding/how-much-and-how-often.html

Riordan, J., Bibb, D., Miller, M., & Rawlins, T. (2001). Predicting breastfeeding duration using the LATCH breastfeeding assessment tool. Journal of Human Lactation, 17(1), 20-23.

Saputri, I. F., Hadisaputro, S., & Fatmasari, D. (2020). Comparison of the herbal care package and breast care method on volume of breast milk among postpartum mothers with breast engorgement. STRADA Jurnal Ilmiah Kesehatan, 9(2), 813-819.

StataCorp. (2013). Stata Statistical Software: Release 13. College Station, TX: StataCorp LLC.

Trainapakul, C., Kanavitoon, W., Tiumtaogerd, R., Naka, S., Mitrniyodom, W., & Panlap, S. (2010). Effect of milk ejection performance of postpartum mothers after breasts massage and compression with mini hot bag and herbal compress. Journal of Nursing and Education, 3(3), 75-91.

Witt, A. M., Bolman, M., Kredit, S., & Vanic, A. (2016). Therapeutic breast massage in lactation for the management of engorgement, plugged ducts, and mastitis. Journal of Human Lactation, 32(1), 123-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-19